การโต้เถียงของวิธีการสะกด coworking เป็นปัญหาหนักโดยเฉพาะประเทศที่ใช้ภาษาอังกฤษเป็นหลัก ในประเทศเหล่านั้น ผู้ดำเนินการ coworking space ทั้งหลายก็มักจะเขียนถึงนักข่าว นักการตลาด และส่งต่อข่าวเกี่ยวกับ space ของพวกเขา ด้วยการใช้คำว่า coworking อยู่สม่ำเสมอ แต่ก็ไม่มีใครจำได้ ในหนังสือพิมพ์หรือข่าวออนไลน์ ก็จะถูกดัดแปลงกลายเป็น ‘co-working’ ซะงั้น และก็เป็นวัฏจักรอย่างนี้มาตลอด แม้กระทั่ง Google เอง ก็ให้ผลลัพธ์กับคำว่า ‘co-working’ มากกว่าคำที่สะกดถูกต้องซะอีก มันช่างน่าน้อยใจยิ่งนัก...
ถึงแม้พวกเราจะส่งสารไปยังเหล่านักข่าววอนขอให้สะกดอย่างถูกต้องแล้ว แต่ก็ไม่มีใครสนใจ จนขนาดเราต้องตั้งเว็บไซต์เล็กๆเมื่อสามปีที่แล้ว ตั้งคำถามว่าควรจะมียัติภังค์ “-” หรือไม่ พร้อมกับคำตอบง่ายๆชัดๆเลยว่า
แล้วทำไมเหล่าสื่อบิ๊กๆยังเพิกเฉยต่อการสะกดแบบถูกต้องอยู่อีกล่ะ? เป็นเพราะ Microsoft Word หรือเปล่า? ก็ไม่นะ โปรแกรมก็ฉลาดพอที่จะปรับตัวได้ หรือว่าเป็นเพราะดิกชั่นนารีรุ่นเก่า? แต่มันก็มีเว็บเยอะแยะมหาศาลเกี่ยวกับ coworking space ที่ใช้คำว่า “coworking”
แล้วอย่างนั้น.. ทำไมล่ะ!? นั่นก็เป็นเพราะว่า ถึงแม้อิสรภาพของสื่อมวลชนและนักข่าวอิสระจะเป็นองค์ประกอบหลักของสังคมที่เป็นกลาง แต่มีอีกหนึ่งสิ่งที่สำคัญกว่านั้น - สไตล์การเขียน โดยเฉพาะสไตล์ที่บัญญัติโดย Associated Press
ตั้งแต่ปี 1953 เครือข่ายข่าวของ AP ได้จัดจำหน่าย “AP Stylebook” สำหรับนักข่าวทั่วโลก และกลายเป็นฐานข้อมูลหลักสำหรับการสะกดและการออกเสียงของคำต่างๆ อ้างอิงตามใจชอบ และส่วนมากแล้ว AP ก็มักจะชอบที่จะใช้ยัติภังค์สำหรับเหล่าคำนำหน้า เช่น ‘co-founder’ กฏเหล่านี้ก็ยังถูกนำมาใช้กับคำว่า "coworking"
AP Stylebook ไม่ใช่สิ่งพิมพ์ทางการ และก็ไม่ใช่พจนานุกรม แต่มันเป็นสิ่งพิมพ์ที่ได้รับคำแนะนำจากสื่อเอกชน จริงๆแล้วมันก็ดีแหละที่จะแนะว่าเราควรสะกดคำต่างๆว่าอย่างไร แต่สื่อมวลชนทั้งเล็กและใหญ่กลับตกเป็นทาสของหนังสือที่แต่งตั้งตังเองว่าเป็น “คัมภีร์ของนักข่าว” ไม่มีใครกลับมาย้อนคิดถึงการสะกดที่ถูกต้องจริงๆอีกเลย ถึงแม้ว่าโลกจะพันแปรไปเท่าไหร่ก็ตาม
มาถึงจุดนี้แล้ว คุณคงเดาได้แล้วใช่มั้ยว่าพวกเราหัวเสียเกี่ยวกับ “co-working” อยู่เหมือนกัน
:::
ในฝั่งของ ‘coworking’
คำๆนี้สรุปใจความทั้งหมด มันไม่ใช่แค่คำเท่านั้น แต่เป็นการแสดงตัวตน ทุกๆคนที่ผ่านการเขียนรายงานในสมัยมหาวิทยาลัยก็ต้องรู้ถึงความสำคัญของความหมายของแต่ละคำ ทนายความก็เหมือนกัน ความแตกต่างนิดๆอาจเป็นเรื่องเล็กน้อย แต่มันก็สามารถส่งผลกระทบถึงอีกหลายๆอย่าง
Coworking space หลายๆที่มักจะสะกดชื่อโดยไม่ใช้ยัติภังค์ เพราะพวกเขาเชื่อว่าคอนเซ็ปนี้มีความแตกต่างอย่างขัดเจน กับคำว่า “co-working” ซึ่งหมายความถึงความสัมพันธ์แบบเพื่อนร่วมงานระหว่างคนสองคนในบริษัทรูปแบบเก่าๆ
คนส่วนมากใช้เวลากับเพื่อนร่วมงานมากกว่าเพื่อนจริงๆ นั่นก็เป็นเรื่องราวของคนที่ทำงานคนเดียวกับการถูกบังคับให้ทำงานข้างๆกับคนอื่นที่เราไม่อยากจะนั่งด้วย ถ้าเป็นอย่างนั้นแล้ว เราก็ควรจะเลือกที่สะกดว่า “co-working” แต่ถ้าเราเลือกที่จะทำงานกับคนอื่นอย่างสมัครใจแล้ว เราก็ควรที่จะแยกคำออกมาให้เห็นความแตกต่างอย่างชัดเจนกับคำว่า “co-working”
ความแตกต่างนั้นอยู่ในแทบจะทุกร้านหนังสือ มีงานเขียนมากมายที่ออกมาให้คำแนะนำว่าเราจะหลีกเลี่ยงเพื่อนร่วมงานแย่ๆยังไง แต่ “coworking” นั้นคนละเรื่องกันเลย คุณไม่ต้องทำงานกับคนที่คุณไม่ชอบ “coworking” คือการที่คุณสามารถเลือกเพื่อนข้างๆได้ ซึ่งนั่นหมายความว่าบรรยากาศในการทำงานก็ย่อมจะมีความกระตือรือร้นและสร้างสรรค์มากกว่าการทำงานแบบเก่า
และด้วยเหตุนี้ คำว่า “coworking” ก็ถูกใช้กันอย่างกว้างขวางในสังคมคนทำงานรุ่นใหม่ แล้วสื่อเองล่ะ ไม่คิดจะหันมาตรวจความถูกต้องหน่อยเหรอ? คุณจะสื่อข่าวอย่างถูกต้องได้อย่างไรถ้าคุณไม่เข้าใจถึงความแตกต่างของสองคำนี้? และเรื่องที่น่าตลกเหนือกว่านั้น ก็คือการที่ “coworking” ไม่ถูกมองถึงความหมายของมันอย่างถ่องแท้ แล้วยังจะเพิ่มขีดขั้นกลางให้มันอีก
:::
ในฝั่งของ co-working
มันก็มีเหตุผลที่ดีสำหรับการเรียกพวกเราว่า “co-working” อยู่เหมือนกันน่ะแหละนะ โดยเฉพาะในประเทศที่ใช้ภาษาอังกฤษ แต่เหตุผลเหล่านั้นฟังไม่ค่อยเข้าท่าซักเท่าไหร่
นอกเหนือจากความคลั่งไคล้บูชา AP Stylebook แล้ว หลายๆคนก็ให้เหตุผลว่าคำว่า “coworking” มันไม่ค่อยมีคนรู้จักและออกจะคลุมเครือ กลัวคนจะงงกันซะก่อน ส่วนอีกกลุ่มนึงก็บอกนึกว่ามันเป็นการเล่นคำ ผสมคำว่า “cow” แล้วก็ “king” เข้าด้วยกัน (ชักจะไปกันใหญ่แล้ว....) คือ มันก็บันเทิงดีล่ะนะ แต่เป็นเหตุผลที่งงมากๆ
แต่นั่นแหละ เหตุผลที่ดีข้อเดียวที่ดูเข้าท่าที่สุดของ “co-working” คงจะเป็นการเปิดกว้างให้ผู้ใช้เลือกเอาเองดีกว่า สำหรับสถานที่ทำงานของพวกเขานั้น เหมาะจะใช้คำว่า “co-working” หรือ “coworking” มากกว่ากัน ไม่ใช่การถูกบัญญัติมาจากหนังสือเล่มใดเล่มหนึ่ง
และก็อีกข้อดีน้อยๆของการที่สื่อใช้คำเรียกพวกเราว่า “co-working” ก็คือ เราจะได้แยกแยะออกได้ว่า สื่อเขียนเกี่ยวกับเราผ่านมุมมองแบบไหน และสื่อนั้นๆเข้าใจพวกเราจริงๆหรือเปล่า
:::
ขอเถิด.. เปลี่ยนซักที
เราทำได้!! ภาษามีการเปลี่ยนแปลงตลอดเวลาโดยไม่ต้องพึ่งหนังสือ AP Stylebook หนึ่งวิธีที่น่าจะได้ผลมากที่สุดคือผ่าน twitter เราสามารถถล่ม AP Stylebook ผ่าน twitter ของพวกเขาได้ บอกพวกเขาว่าต้องเขียน ‘coworking’ เป็นคำๆเดียวกันโดยไม่มียัติภังค์ ดังนั้น เราไปถล่มพวกกันแบบนี้เลย :
@APStylebook #Coworking is not Co-working. It’s an independent movement that doesn’t want to be separated by a hyphen!