Yardi Kube: A single connected platform for flexible workspace management
Yardi Kube

By Anna Cashman - วันอาทิตย์, 03 กุมภาพันธ์ 2556

HUBBA มาจากคำว่า HUB ที่แปลว่าจุดศูนย์กลาง และ Ba ก็คือบ้าในภาษาไทย ‘เราเชื่อว่าใครที่คิดจะทำธุรกิจ startups จะต้องมีลูกบ้าอยู่หน่อยๆคือ มั่นใจในตัวเอง มีความคิดที่ล้ำกว่าคนอื่นและกล้าเสี่ยง’ HUBBA ยังเป็นคำที่ฟังดูขี้เล่น (และซุกซนหน่อยๆ) เราอยากสร้าง coworking space ที่เป็นมิตรและเฮฮาที่สุดในกรุงเทพ!  และแน่นอนว่าต้องเป็นศูนย์กลางของ ’วัฒนธรรม coworking ในเมืองไทย’’ มิ่ง มหากิตติคุณ ที่ปรึกษาของ HUBBA กล่าว

เขาเล่าเรื่องราว HUBBA ให้เราฟังว่าที่นี่กลายเป็นศูนย์กลางของ coworking ของเมืองหลวงแห่งนี้ได้อย่างไร


HUBBA เริ่มจากความอุปสรรคในการทำงานของสองพี่น้อง ชาร์ลและเอม อมฤต เจริญพันธ์ ชาร์ล เป็นเจ้าของและผู้ก่อตั้ง Ascendex Consulting บริษัทที่ปรึกษาสำหรับธุรกิจขนาดเล็ก เขาเริ่มลองหยิบไอเดียการทำ coworking space มาจากความหงุดหงิดช่วง 2 ปีที่พัฒนาธุรกิจของตัวเอง เพราะไม่สามารถหาที่ที่ทำงานอย่างเต็มที่ได้ เขามองว่าธุรกิจให้คำปรึกษาของเขาจะทำงานได้เร็วกว่าเดิม หากลูกค้าทำงานอยู่ไม่ไกลกัน

ทางด้าน อมฤต น้องชาย ขณะที่เขาดำเนินธุรกิจเพื่อสังคม ก็เริ่มสังเกตเห็นความสำเร็จของ coworking space ทั่วโลกและเชื่อว่าในเมืองไทยก็มีความต้องการ coworking spaces อยู่มาก หากคนไทยมีโอกาสได้รู้จักการทำงานแบบนี้มากขึ้น  เขารู้สึกว่า coworking space จะช่วยเร่งประสานกลุ่มธุรกิจ startups ที่ยังค่อนข้างกระจัดกระจายอยู่ในเมืองไทย ซึ่งจะเป็นแรงสนับสนุนให้ธุรกิจ startups ของไทยให้ก้าวสู่ระดับภูมิภาคได้

:: 6 เดือนครึ่ง ::

สิ่งที่เร่งให้เกิด HUBBA เป็นจริงขึ้นมาเกิดเมื่อเดือนตุลาคม 2011 ขณะที่กรุงเทพเจอกับน้ำท่วมครั้งใหญ่ที่ทำให้ทั้งคู่ต้องย้ายนอกกรุงเทพ ชั่วคราว เมื่อเริ่มรู้สึกว่าอนาคตการทำงานไม่มั่นคง จึงตัดสินใจกัดฟันทำตามฝันโดยหาข้อมูลจาก Deskmag และ Google เพื่อเริ่มต้นทำcoworking space ให้สำเร็จ เมื่อต้องนั่งทำงานในร้านกาแฟ ย้ายจากร้านหนึ่งไปร้านหนึ่ง ทำให้ทั้งคู่ได้เห็นทั้งด้านดีและเสียของการดำเนินธุรกิจในร้านกาแฟ จึงเริ่มมองเห็นข้อดีมากมายของการทำงานแบบ coworking

เดือนธันวาคม 2011 โปรเจ็กต์นี้เริ่มเป็นรูปเป็นร่างเมื่อทั้งคู่ถูกใจที่ตั้ง HUBBA ในปัจจุบันซึ่งอยู่ใจกลางเขตเอกมัย/ทองหล่อ พวกเขาเลยตัดสินใจกัดฟันและเช่าพื้นที่ภายในเวลา 2 อาทิตย์ ถึงแม้จะยังไม่มีอะไรเลย กระทั่งนักออกแบบหรือทีมงาน ภายในเวลา 6 เดือนครึ่ง งานออกแบบและซ่อมแซมก็เสร็จเรียบร้อย

แรงขับเคลื่อนสำคัญที่ทำให้ทั้งสองกล้าเสี่ยงก็คือความเชื่อที่มีในการเริ่มต้น และกำลังของธุรกิจ startups และเชื่อว่าวัฒนธรรมการทำงานแบบ coworking จะยังอยู่ไปได้อีกนานโดยจะได้รับการตอบรับที่ดีจากคนไทยและชาวต่างชาติใน เมืองไทย และที่ผ่านมาก็ยังเป็นจริงอย่างที่เขาเชื่อ อมฤต ผู้ร่วมก่อตั้ง เล่าให้เราฟังถึงแผนและวิธีการดำเนินงาน ให้ HUBBA กลายมาเป็นที่รู้จัก


:: โดยสรุปแล้ว ความสำเร็จของแคมเปญในโซเชียลมีเดียมาจาก... ::

เราพอทราบตั้งแต่แรกแล้วว่าเป้าหมายหลักของเราคือเจ้าของธุรกิจ startups ด้านเทคโนโลยีและครีเอทีฟ และคนทำงานอิสระ และเราก็ต้องหาวิธีเข้าถึงคนเหล่านั้น ที่ง่ายและเร็ว ที่ไหนหรือเมื่อไหร่ก็ได้ เนื่องจากเราไม่มีงบประชาสัมพันธ์มากมาย เรารู้ว่ากลุ่มเป้าหมายเหล่านี้ใช้ Facebook ในชีวิตประจำวันอยู่แล้วทั้งบนโทรศัพท์สมาร์ทโฟนและอื่นๆ

ดังนั้น เพื่อให้เราเป็นที่รู้จักและเจาะได้ถึงในบ้านและร้านกาแฟ ซึ่งถือเป็นคู่แข่งสำคัญของเรา เราเลยต้องสื่อสารบน Facebook นอกจากนั้น การมีคอมมิวนิตี้ซึ่งถือเป็นข้อได้เปรียบอย่างมากของ coworking space โซเชียลมีเดียจึงเป็นเครื่องมือสำคัญที่แสดงให้เห็นความเป็นตัวตนและพลังของ HUBBA และสุดท้ายก็คงไม่ใช่เรื่องแย่อะไร ถ้ากรุงเทพจะเป็นเมืองหลวงที่คนเล่น Facebook มากที่สุดในโลก!

โน้ต เฉลิมยุทธ์ บุญมา ซึ่งเป็นอดีตผู้จัดการการตลาดด้านสื่อดิจิตอลที่ Ensogo.com และ Zalora.co.th เป็นหนึ่งในหุ้นส่วน โดยเรานำทักษะที่เขามีจับมาเจอกับคุณเอซ ธนบูรณ์ สมบูรณ์ ผู้ก่อตั้งเว็บ Portfolios.net (เว็บไซต์คอมมิวตี้ด้านงานครีเอทีฟ ศิลปะและออกแบบที่สามารถแชร์พอร์ตโฟลิโอได้ด้วย) และเว็บไซท์ Creativemove.com (บล็อกเกี่ยวกับงานครีเอทีฟ ศิลปะและออกแบบเพื่อเปลี่ยนแปลงสังคม)

ประสบการณ์ มากมายด้านโซเชียลมีเดียของทั้งสองเป็นประโยชน์กับทีมอย่างมากทั้งในด้านคำ แนะนำกลยุทธ์การลงเนื้อหาและการดำเนินการอย่างไรให้ได้ผลดีที่สุด เช่น จังหวะเวลาในการโพสต์ที่ดีที่สุด ควรใช้โซเชียลมีเดียค่ายใดและอื่นๆ  และเพราะว่ามีทีมภายในเป็นของตัวเอง เราจึงสามารถตอบสนองต่อความเคลื่อนไหวทางการตลาดได้ทันท่วงที

สุดท้าย เราได้นำวิธีคิดแบบ lean startup มาใช้กับกลยุทธ์โซเชียลมีเดียของเรา โดยทดลองวิธีหลายๆแบบ ดูว่าวิธีไหนใช่และหยิบวิธีที่เวิร์คมาขยายทำต่อไป เราผิดพลาดมาก็หลายครั้งแต่ก็เรียนรู้จากสิ่งเหล่านั้นอย่างรวดเร็วและมา ปรับให้เหมาะสมขึ้น

:: การที่ HUBBA Thailand โด่งดังและเป็นที่รู้จักกว้างขวางถือเป็นข่าวดีของขบวนการ coworking ทั้งไทยและต่างชาติ HUBBA Thailand คิดจะประชาสัมพันธ์ coworking ในกรุงเทพและจังหวัดอื่นๆต่อไปอีกยังไง? ::

ส่วนเรื่องกลยุทธ์การประชาสัมพันธ์ coworking เรารู้ว่าในหมู่ชาวต่างชาติและคนทำงานอิสระที่อาศัยอยู่ในเมืองไทยนั้นมี ความต้องการและความเข้าใจตใน coworking มากอยู่แล้ว แต่สำหรับคนไทยยังค่อนข้างน้อย ปัญหาส่วนใหญ่ของประเทศที่ยังใหม่กับแนวคิด coworking คือเข้าใจผิดว่า coworking เป็นแค่คำสวยๆที่เอาไว้เรียกออฟฟิศให้เช่าหรือร้านกาแฟ  ยิ่งไปกว่านั้นการสื่อสารให้กลุ่มธุรกิจ startups ที่เพิ่งเกิด และไม่เคยได้ประโยชน์จากการได้พบปะคนที่อาจมีประโยชน์กับธุรกิจของตนเองโดย บังเอิญ (chance meeting) เลย มามองเห็นคุณค่าของคอมมิวนิตี้ก็เป็นเรื่องยาก

ดังนั้น เพื่อจัดการปัญหานี้เราจึงพยายามกระตุ้นวัฒนธรรมการทำงานแบบ coworking ในประเทศไทยโดย:

การพูดคุย: พูดเสมือนเป็นผู้เผยแพร่ coworking เพื่อส่งเสริมให้มี coworking space ในเมืองไทยมากขึ้น เราเองก็ไม่ใช่ผู้เชี่ยวชาญในเรื่อง coworking (ทุกอย่างที่เราทำตอนนี้มาจากประสบการณ์ที่เรียนรู้เอง และส่วนใหญ่ก็ค้นคว้ามาจาก Deskmag นั่นแหละ!) แต่เราก็ยินดีแชร์ความผิดพลาดและสิ่งที่เราได้เรียนรู้มา ผมเคยได้พูดคุยในงาน Barcamp หนึ่งไปแล้วและจะไปร่วม Barcamp อีกงานวันเสาร์นี้

หุ้นส่วน: เราทำงานร่วมกับหุ้นส่วนทั้งในและนอกประเทศเพื่อสร้างเน็ตเวิร์ก coworking space ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เช่น coworking visa และแคมเปญการตลาดเดียวกันเพื่อให้ coworking ดำเนินต่อไปได้สำหรับทุกๆคน นี่เป็นตัวอย่างที่เราอยากทำให้แน่ใจว่า coworking จะไม่ใช่แค่กระแสที่มาแล้วก็ไปแต่เป็นวัฒนธรรมการทำงานที่จะดำเนินต่อไปได้ เรื่อยๆ  

เนื้อหา: โดยการสร้างอีกทีมขึ้นมาเพื่อทำงานกับ Deskmag เพื่อแปลเนื้อหาทั้งหมดเป็นภาษาไทย ผมเองก็เป็นตัวแทนดูแล Coworking Wiki ของประเทศไทยเพื่อเผยแพร่ข้อมูลเกี่ยวกับ Coworking Space ในเมืองไทยอยู่ ในอนาคต เราจะทำ infographic ออกมาอีกหลายชิ้นเพื่อประชาสัมพันธ์ coworking space ให้เป็นที่รู้จัก

ssfCoworking Statistics

Startpage