Yardi Kube: A single connected platform for flexible workspace management
Yardi Kube

By Hana Hariri - วันอาทิตย์, 03 กุมภาพันธ์ 2556

บทความ ชิ้นนี้เขียนโดย Hana Hariri ซึ่งสรุปผลจากงานวิทยานิพนธ์ปริญญาโทของเธอ สำหรับงานนี้ เธอสัมภาษณ์หลายคนที่ทำงานในcoworking space และร้านกาแฟในเมือง Vienna และนี่คือผลการสำรวจ:

คนที่ให้สัมภาษณ์ในร้านกาแฟมีอาชีพหลากหลาย ไม่ใช่มีแค่ผู้ประกอบการและคนทำงานอิสระเท่านั้นที่มาทำงานในร้านกาแฟใกล้ บ้านบ่อยๆ ที่จริงแล้ว ผู้ใช้บริการส่วนมากไม่ใช่ผู้ประกอบการด้วยซ้ำ นักศึกษามหาวิทยาลัยก็ชอบนั่งทำงานที่ร้านกาแฟ เช่นเดียวกับนักบิน, นักข่าว, อาจารย์, นักเรียนมัธยมปลาย, นักคณิตศาสตร์หรือกราฟฟิก ดีไซน์เนอร์แนวๆ

ในทางกลับกัน coworker ส่วน ใหญ่ที่ให้สัมภาษณ์ในการสำรวจครั้งนี้ทำงานอิสระหรือทำธุรกิจ startups ในแขนงงานต่างๆ โดยอาชีพของผู้ให้สัมภาษณ์มีทั้ง นักพัฒนาซอฟท์แวร์, นักดนตรี, ที่ปรึกษา, คนในวงการภาพยนตร์, การตลาดและการบริหารงานอีเวนต์

ทำไมจึงเลือกนั่งทำงานในที่นั้น? และชอบอะไรที่นั่น?

Coworkers กล่าว ว่า พวกเขาเลือกทำงานใน coworking space หลักๆเพราะพวกเขาไม่อยากทำงานทีบ้านอีกแล้ว เพราะพวกเขาเจอปัญหาเรื่องเสียสมาธิและไม่มีเพื่อน พวกเขายังพลาดโอกาสที่จะได้พบปะกับคนคอเดียวกันด้วย “หากคุณทำงานที่บ้าน คุณก็จะอยู่กับตัวเองตลอดเวลา ใส่ชุดนอนทำงานหรือบางทีไม่ลุกจากเตียงด้วยซ้ำ” นอกจากนี้ พวกเขายังให้ความสำคัญกับความช่วยเหลือที่มาอย่างทันท่วงทีเมื่อจำเป็น “คุณแค่หันไปถามคนข้างๆเพื่อขอความช่วยเหลือซึ่งใช้เวลาแค่ 5 นาทีก็แก้ปัญหาได้แล้ว แทนที่จะใช้เวลา 3 ชั่วโมงนั่งหาวิธีบนอินเตอร์เน็ต” Simon ผู้ใช้บริการ coworking คนหนึ่งเอ่ย

ทั่วไปแล้ว coworkers ก็รู้สึกดีใจที่ได้มีปฏิสัมพันธ์กับคนอื่นระหว่างวันบ้าง และระหว่างการสัมภาษณ์มีหลายคนให้เหตุผลว่าค่าเช่า coworking space นั้นราคาไม่แพงเหมือนค่าเช่าพื้นที่ออฟฟิศ


คนที่ทำงานในร้านกาแฟนั้นมีเหตุผลในการเลือกสถานที่ทำงานต่างไปเล็กน้อย หลายคนเลือกเพราะต้องการหลุดออกจากสภาพแวดล้อมการทำงานเดิมๆ และเป็นอีกทางที่จะได้อยู่ในที่ที่มีชีวิตชีวาโดยที่ไม่จำเป็นต้องมี ปฏิสัมพันธ์กับคนอื่น นักข่าวคนหนึ่งอธิบายว่า:


“ไม่มีใครคุยด้วยนะ แต่ก็ยังมีความเคลื่อนไหวอยู่รอบๆตัว บรรยากาศแบบนี้เหมาะที่สุดกับงานของฉัน ฉันไม่ใส่ใจเสียงจอแจหรือเสียงคุยรอบๆตัวหรอก แค่ไม่อยากให้มีใครมาคุยด้วยเท่านั้นเอง ถ้าเป็นที่บ้าน มันจะเงียบไปเลยเพราะไม่มีคนอยู่หรือถ้ามีคนอยู่ก็จะมาชวนฉันคุย”


ที่สำคัญ สำหรับคนที่ทำงานในร้านกาแฟนั้นยังมีกาแฟและขนมบริการตลอดเวลาด้วย ทั่วไปแล้วร้านกาแฟมักถูกเลือกเมื่อต้องการเปลี่ยนกิจวัตรเดิมๆมากกว่าแต่ ไม่ได้ใช้เป็นที่ทำงานหลัก


ความต่างยังมีต่อ>>>>


พวกเขามาบ่อยขนาดไหนและอยู่นานเท่าไหร่?

ระยะ เวลาที่นั่งทำงานในแต่ละสถานที่ทำงานนั้นต่างกันมาก coworkers พูดเป็นเสียงเดียวกันว่าพวกเขาไปที่ ‘ออฟฟิศ’ เกือบทุกวันและจะอยู่ตลอดเวลาทำงาน คือประมาณ 8 ชั่วโมง ส่วนคนที่ทำงานที่ร้านกาแฟ จะเข้า ‘คอฟฟิศ’ ระหว่าง 1 เดือนและไปจนถึง 3 ครั้งต่อสัปดาห์ แต่ไม่มีใครที่นั่งทำงานในร้านกาแฟทำงานทั้งวัน ผู้ที่ให้สัมภาษณ์ส่วนใหญ่บอกว่าพวกเขามักออกจากร้านหลังจากนั่งนาน 3-4ชั่วโมง

ต้องใช้อะไรบ้างจึงจะทำงานสำเร็จ?

นี่ เป็นประเด็นคำถามเดียวที่ทั้ง coworkers และผู้ที่ทำงานในร้านกาแฟมีความต้องการไม่ต่างกัน คนส่วนมากบอกว่า ที่จริง พวกเขาเพียงแค่ต้องการคอมพิวเตอร์และอินเตอร์เน็ตเพื่อทำงานในเสร็จ แต่มีอีกอย่างที่พูดถึงบ่อยเกี่ยวกับการทำงานในร้านกาแฟคือ ไม่มีปลั๊กไฟพอให้พวกเขาทำงานได้อย่างต่อเนื่อง

พวกเขาทำอะไรกันบ้าง?

Coworkers มักนั่งทำงานโปรเจกต์ระยะยาวของตัวเองและทำทุกอย่างตั้งแต่ ตอบอีเมล์ ร่างแบบ เขียนโค้ดและรับรองลูกค้ารวมถึงหุ้นส่วนที่ ‘ออฟฟิศ’ ในขณะที่คนที่ทำงานในร้านกาแฟจะนั่งทำงานที่เบากว่าอย่างตอบอีเมล์ คุยโทรศัพท์ อ่านหนังสือและเขียนงาน

บทสรุป:

Coworkers ชื่นชอบการที่ได้แลกเปลี่ยนความคิดเห็นและทำงานร่วมกันกับ coworkers คนอื่นๆ ในขณะที่คนที่เลือกนั่งทำงานในร้านกาแฟชอบบรรยากาศคึกคักท่ามกลางผู้คน ขณะเดียวก็เลือกทำงานเงียบๆคนเดียว

ทั้ง 2 กลุ่มนั้นเปลี่ยนที่อยู่เสมอ และต้องการแค่แล็ปท็อปและอินเตอร์เน็ตก็สามารถทำงานให้เสร็จได้แล้ว ทั้ง 2 กลุ่มนี้ก็เลือกสถานที่นั่งทำงานเพื่อหลีกหนีบรรยากาศการทำงานเนือยๆ coworkers สามารถตั้งใจกับงานได้มากกว่า ในขณะที่คนที่ทำงานในร้านกาแฟชอบบรรยากาศทำงานสบายๆ ที่สามารถนั่งทำงานสลับกับพักผ่อนได้ด้วย

Coworkers มีความสัมพันธ์ที่แน่นแฟ้นกับ coworking space และจะยึดมั่นกับที่ที่เลือก ในขณะที่อีกพวกนั้น ชอบมีหลายๆตัวเลือก โดยเปลี่ยนร้านกาแฟในละแวกใกล้ๆไปเรื่อยๆ และใช้บริการห้องสมุดหรือมหาวิทยาลัยต่างๆด้วยเช่นกัน

โดยรวมแล้ว เราสามารถพูดได้ว่าผู้ที่นั่งทำงานในร้ากาแฟนั้นไม่คุ้นกับข้อดีของการเป็น coworkers เช่น การได้แลกเปลี่ยนความคิดอยู่บ่อยๆ และการได้ทำงานร่วมกับคนอื่น โชคไม่ดีที่หลายคนมองว่าการมีติดต่อสัมพันธ์กับผู้คนจะทำให้เสียสมาธิแทนที่จะเห็นประโยชน์


:::

ผู้เขียน Hana Hariri ทำงานใน coworking space หลายแห่งในเมือง Vienna และ Berlin และเขียนวิทยานิพนธ์เกี่ยวกับ “สถานที่ทำงานของสายอาชีพสร้างสรรค์ในเมือง Vienna โดยมุ่งเน้นที่ coworking space และร้านกาแฟ”

ssfCoworking Statistics

Startpage