Yardi Kube: A single connected platform for flexible workspace management
Yardi Kube

By Hana Hariri - วันอังคาร, 21 พฤษภาคม 2556

การทำงานสไตล์ใหม่อย่าง  coworking เป็นตัวแทนของการร่วมมือกัน ซึ่งเป็นจุดเด่นของสไตล์การทำงานร่วมกันที่ชัดเจนมากอย่างหนึ่ง แต่จะทำได้จริงๆหรือเปล่า?

Sennett แบ่งประเภทการแลกเปลี่ยนในความสัมพันธ์ตามธรรมชาติไว้ 5 แบบโดยดูจากประโยชน์ที่แต่ละฝ่ายได้รับ: ให้แบบไม่หวังอะไรตอบแทน, ได้ประโยชน์ทั้งคู่, differentiated exchange relationships ความสัมพันธ์เชิงแลกเปลี่ยนที่มีการเปลี่ยนแปลง, ซีโร่ ซัม, และแบบคนเดียวกวาดเรียบ

:::

การแลกเปลี่ยนแบบนี้เป็นแบบข้างเดียว คือให้อีกฝ่ายโดยไม่ได้อะไรตอบแทน ความเสียสละคือแรงจูงใจของการแลกเปลี่ยนแบบนี้ ซึ่งโดยส่วนมากจะเป็นการให้เพื่อคนหมู่มาก

ก็เหมือนโลกการทำงานทั่วไป การให้โดยไม่หวังอะไรตอบแทนอย่างจริงใจหาได้ไม่ง่ายในโลกของ coworking และก็รวมถึงองค์กรที่ไม่หวังผลกำไรด้วย มีไม่กี่คนที่จะมีแรงจูงใจทำงานเพื่อคนอื่นล้วนๆ ถึงเป้าหมายจะเป็นอย่างนั้นก็ตาม พูดสั้นๆ ก็คือใครก็อยากทำงานที่ได้เงินเหมือนกันทุกคน จริงมั้ยล่ะ

แต่ถึงอย่างนั้น การให้โดยไม่หวังอะไรก็ยังพอมีบ้าง แต่ก็แค่เฉพาะกลุ่มคนเล็กๆเพื่องานการกุศลเท่านั้น คนเหล่านี้เป็นพื้นฐานที่สำคัญสำหรับสังคมการทำงาน เพราะอย่างนี้คุณเลยยังสามารถเจอการแลกเปลี่ยนโดยไม่หวังผลใน coworking spaces ต่างๆได้อยู่บ้าง นอกจากนี้ผู้ก่อตั้ง coworking spaces หลายๆคน ไม่ได้ทำเพื่อเงินอย่างเดียวแต่ยังอยากเปลี่ยนแปลงวิถีการทำงานให้ไปในทาง ที่ดีขึ้นด้วย อย่างน้อยก็ในท้องถิ่นที่พวกเขาอยู่ ซึ่งอันที่จริงพวกเขาต้องฟันฝ่าความท้าทายเพื่อให้สำเร็จตามเป้าหมายหนัก กว่าสมาชิกเองเสียอีก

:::

Win-Win วิน-วิน ได้ประโยชน์ทั้ง 2 ฝ่าย

ส่วนมากความสัมพันธ์ที่เกิดใน coworking อาศัยการพึ่งพาอาศัยกัน การทำงานด้วยกันถือเป็นการแลกเปลี่ยนที่ต้องพึ่งพาอาศัยกัน และทั้ง 2 ฝ่ายก็ได้ประโยชน์ ฉันช่วยเธอ เธอช่วยฉัน แฮปปี้ทั้งคู่!

Sennett เปรียบเทียบหลักการนี้กับวิธีที่หนูร่วมมือกัน แม้ว่ามันจะไม่ชอบหน้ากัน แต่มันก็จะมารวมตัวช่วยกันสู้กับศัตรู พวกมันได้ประโยชน์จากการร่วมมือกันแม้ว่าจะแข่งกันอยู่ในที เราเห็นได้ว่ามีเส้นบางๆแยกระหว่างการร่วมมือและการแข่งขันกัน การแลกเปลี่ยนแบบวิน-วินจะเกิดขึ้นก็ต่อเมื่อเราไม่ต้องต่อสู้กับใครที่ไหน และช่วยกันจริงๆ

ความสัมพันธ์แบบนี้เป็นแบบเปิด ในช่วงแรกจะไม่มีเรื่องกำไร ขาดทุน มีแต่หวังว่าจะได้รับสิ่งที่ตัวเองยังขาด นักสังคมวิทยาอธิบายว่า นี่เป็นหลักการหนึ่งที่มองว่ามนุษย์เป็นสิ่งมีชีวิตที่คิดอย่างมีเหตุมีผล

การศึกษาทางสังคมวิทยาจึงเข้ามามีส่วนกับทุนทางสังคมที่เราเห็นได้จากพฤติกรรม ต่างๆพวกนี้ การแลกเปลี่ยนที่ดีจะเกิดขึ้นเมื่อทั้งสองฝ่ายมีความมั่นใจและไม่ใช้เหตุผล มากเกินไป การพึ่งพาอาศัยกันจะไม่เวิร์คทันที หากความสัมพันธ์ของอีกฝ่ายถูกทำลายซึ่งรวมไปถึงความเชื่อใจด้วย เพราะฉะนั้นความสัมพันธ์ต่างๆจึงไม่ได้คงอยู่ตลอด สิ่งที่ทั้ง 2 ฝ่ายแลกเปลี่ยนกันไม่จำเป็นต้องเป็นอย่างเดียวกัน เพราะแต่ละฝ่ายมองเห็นคุณค่าของอีกฝ่ายต่างกัน

ถ้านำมาใช้ในการทำงานแบบ coworking แล้วละก็ เราสามารถมองเรื่องการแลกเปลี่ยนทักษระหว่างคนที่ทำงานด้วยกัน อย่างเช่น ฉันทำกราฟฟิกส่วนคุณสร้างแอพพลิเคชั่นใน Java  เพราะคุณต้องการทั้งกราฟฟิก ดีไซนเนอร์และคนนำชิ้นงานไปพัฒนาในเว็บ ทั้ง 2 ฝ่ายก็ได้ประโยนช์ทั้งคู่แม้ว่าอาจไม่พร้อมกัน และทั้งคู่ก็ควรได้สิ่งตอบแทนเท่าๆกันจากการแลกเปลี่ยนครั้งนี้ด้วยเหมือน กัน

▶ หน้า 2 : การแลกเปลี่ยนที่เปลี่ยนแปลงได้, ซีโร ซัมและผู้ชนะกวาดเรียบ


Differentiating exchanges การแลกเปลี่ยนที่เปลี่ยนแปลงได้

ความสัมพันธ์ประเภทนี้มักเกิดขึ้นระหว่างคนที่ไม่รู้จักกันมาก่อนและไม่ต้องการจะรักษาความสัมพันธ์ให้มั่นคง แค่ต้องการข้อมูลและพิจารณาตัวเองเปรียบเทียบเท่านั้น ซึ่งเกิดขึ้นกับคนที่จะเจอกันเพียงครั้งเดียว คุยเฮฮาแล้วก็แยกย้าย Sennett ให้ตัวอย่างว่าก็เหมือนบทสนทนาของคนแปลกหน้านั่นแหละ ซึ่งการพูดคุยในความสนิทระดับนี้ก็มีใน coworking space เหมือนกัน

แม้ว่าคนข้างๆจะไม่ใช่เพื่อนรู้ใจหรือคู่หูธุรกิจของคุณ แต่ก็ยังสามารถได้เรื่องที่น่าสนใจและมุมมองพิจารณาตัวเองจากการคุยได้ เหมือนกัน การแลกเปลี่ยนแบบนี้ไม่ได้มีรางวัลอะไร แต่จะเป็นไปอย่างสบายๆและไม่มีเป้าหมายซึ่งไม่เหมือนการร่วมมือแบบอื่นๆ การแลกเปลี่ยนประเภทนี้ให้ความสำคัญความสำเร็จของคนๆนั้นแต่ก็ไม่ได้ด่วน ตัดสินใคร

วิธีนี้ถือว่าเป็นการดึงดูดประโยชน์จากการแลกเปลี่ยนประเภทต่างๆสำหรับใครที่ยังไม่เปิดใจเท่าไหร่ แต่เราก็ยังอยากพูดถึงนิดนึง

:::

The Zero-sum game ซีโร่ ซัม เกม

อีกคนชนะเพราะอีกฝ่ายแพ้ แต่สุดท้ายก็ไม่เหลืออะไรเลย ซีโร่ ซัม เป็นเอาชนะแบบปราศจากการร่วมมือ แต่เพื่ออธิบายกฎของเกมนี้ก็ยังต้องมีการร่วมมือกันในช่วงเริ่มเช่นกัน

ถ้าไม่ได้ลองนั่งเล่นไพ่โป๊กเกอร์หรือโมโนโพลีด้วยกัน ก็คงยังสรุปไม่ได้ว่าซีโร่ ซัมเกมจะใช้กับ coworking ได้จริงไหม ชัยชนะของผู้ชนะไม่ได้ยิ่งใหญ่ไปกว่าการพลาดพลั้งของคนพ่ายแพ้ และถ้าฝ่ายชนะยังพอมีน้ำใจก็ควรจะเก็บอะไรไว้ปลอบใจคนแพ้ให้รู้สึกดีบ้าง และนี่ก็เป็นอีกวิธีที่บริษัทใหญ่ๆใช้เหมือนกันนะ ยิ่งความสัมพันธ์ของทั้ง 2 ฝ่ายสนิทกันเท่าไหร่ ก็ยิ่งมีความเป็นไปได้มากขึ้นที่จะถูกคว่ำบาตร ซีโร่ ซัม เกม ก็คือการที่คนชนะได้ผลประโยชน์ทั้งหมด ถ้าในระดับทั่วๆ ไปอย่างใน coworking space ซีโร่ ซัม เกมอาจทำให้ความสัมพันธ์จบลงไปได้เลย

:::

The Winner takes it all ผู้ชนะกวาดเรียบ

ชื่อก็บอกอยู่แล้ว ว่าทุกคนได้ประโยชน์ ไม่มีใครเสีย การแลกเปลี่ยนลักษณะนี้อยู่บนสุดของห่วงโซ่อาหาร แต่ก็คงไม่ดีถ้าข้างบนรวมตัวกันมั่นคง แต่ไม่มีฐานส่วนล่าง ความสัมพันธ์แบบนี้จะเวิร์คก็ต่อเมื่อเป็นกรณีผูกขาด (หรือเผด็จการ) คือทั้งตลาดมีแต่เจ้านี้เจ้าเดียว แต่จะหาความสัมพันธ์ด้านเดียวแบบนี้ใน coworking คงยากเพราะการถูกบังคับให้ร่วมมือกันไม่ได้ให้ประโยชน์อะไรกับใครเลย

:::

There's more in this congress... Work in Progress ยังมีหลายอย่างที่ต้องทำ

บทความนี้ยังพูดแค่เพียงผิวๆ ของ coworking รูปแบบต่างๆ เท่านั้น แต่ก็เห็นได้ว่ามีอิทธิพลเปลี่ยนแปลงการทำงานร่วมกันในอนาคตค่อนข้างมาก ยิ่งคนหันมาทำงานอิสระหรือเป็นเจ้าของกิจการขนาดเล็กมากเท่าไหร่ การร่วมมือและพึ่งพาอาศัยกันให้ได้ประโยชน์ทั้ง 2 ฝ่ายก็ยิ่งสำคัญมากขึ้นเท่านั้น

ใครที่อยากรู้เรื่องนี้เพิ่มจากคุณ Sennett และผู้เชี่ยวชาญท่านอื่นๆอีก เราแนะนำให้ไปงานประชุม Work In Progress ที่เกิดขึ้นที่เมือง Hanburg วันที่ 28 กุมภาพันธ์และ/หรือ 1 มีนาคม ละยังมีการพูดคุย พรีเซนเทชั่นและอภิปรายหัวข้ออื่นๆอีกอย่าง การใช้ทรัพยากรร่วมกัน, FabLabs (ห้องปฏิบัติการประดิษฐกรรม), การกลับมาของร้านสหกรณ์, การทำฟาร์มที่ได้ผลผลิตจากธรรมชาติและชีวิตส่วนตัว-การทำงานและอื่กหลาย เรื่อง แล้ว Deskmag จะรายงานตรงจากงานมาให้คุณได้อัพเดทกัน

:::

Work in Progress, 28.02. & 01.03.13, Hamburg วันที่ 28 กุมภาพันธ์และ 1 มีนาคม 2013 เมือง Hamburg
Kampnagel, Jarrestraße 20

:::

ssfCoworking Statistics

Startpage