Yardi Kube: A single connected platform for flexible workspace management
Yardi Kube

By CARSTEN FOERTSCH - วันจันทร์, 11 มีนาคม 2556

เราได้ตั้งคำถามกับผู้ดำเนินการของ coworking space ทั้ง 4 แห่งดังนี้:

Freiraum87, Frederik Littschwager, เมือง Kempten (เยอรมนี)
Veel Hoeden, Joel Bennett, เมือง Pella (รัฐ Iowa, สหรัฐอเมริกา)
Wexelwirken Härten, Christopher Schmidhofer, เมือง Kusterdingen (เยอรมนี)
Unternehmerwerk, Ralf Jacubowsky v. Einem, เมือง Altenmedingen (เยอรมนี)

Deskmag:  ทำไม coworkers ในเมืองเล็กๆ ใช้บริการ coworking space น้อยกว่าในเมืองใหญ่กว่าครึ่ง?

Frederik: เมืองเล็กๆมีสังคมที่ใกล้ชิดกันมากกว่า ทุกคนรู้จักกัน อะไรๆในเมืองก็เป็นที่รู้จัก เพราะอย่างนี้จึงไม่ได้มีความต้องการที่จะสร้างสัมพันธ์กับคนอื่นเพิ่มมากเท่าในเมืองใหญ่ เหตุผลอีกอย่างคือไม่มีระบบขนส่งสาธารณะ ใครที่บ้านไกลก็ต้องมีรถยนต์ จากการสำรวจออนไลน์ของเราพบว่า ลูกค้าจะเดินทางไปสถานที่อย่าง coworking space ก็ต่อเมื่อไม่ไกลเกิน 20 กิโลเมตร หรือเดินทางไม่เกิน 30 นาที เพราะฉะนั้นถ้าไม่สะดวก พวกเขาก็เลือกอยู่ที่บ้านดีกว่า

Joel: ผมว่าในส่วนของเรานั้นค่อนข้างก้ำกึ่ง แต่ก็เปลี่ยนแปลงได้ทุกสัปดาห์แหละครับ สมาชิกของเราบางคนทำงานต้องออกข้างนอกเพื่อไปปิดการขายและเดินทางระหว่างสัปดาห์ แล้วก็แวะเข้ามาที่ space บ้างเป็นพักๆ แต่บางสัปดาห์ก็มาทุกวัน

Christopher: คนทำงานอิสระที่นี่รับงานจากลูกค้าทั่วเมืองและต้องขับรถไปพบลูกค้า หรือบางคนมีครอบครัวซึ่งก็จะกินเวลาบางส่วนไป แม้ว่าพวกเขาจะไม่ได้มาทุกวัน แต่ผมก็คิดว่าพวกเขาเชื่อแนวคิดแบบ coworking นะ

Ralf: เราทำ space ขึ้นมาให้มีความหลากหลายมากขึ้นและไม่ได้เพื่อคนกลุ่มหลักอย่างเดียว เรามีห้องสำหรับการบรรยายและสัมมนา รวมถึงห้องพักในช่วงวันหยุด ห้องเหล่านี้จะมีคนใช้บ่อยระหว่างบางช่วงของโปรเจกต์ แต่ไม่ถึงกับมีทุกวัน นอกจากนี้คนในเมืองเล็กยังรู้จักกันมากกว่าและพึ่งตนเองน้อยว่า แล้วพวกเขาก็มักมีพื้นที่ในบ้านเพียงพออยู่แล้ว ในขณะที่คนในเมืองใหญ่จะหนีจากห้องพักเสียงเอะอะที่แชร์กับคนอื่นหรือห้อง พักขนาดเล็กที่ใช้อยู่อาศัยอย่างเดียว

Deskmag: แต่ทำไมคนในเมืองเล็กจึงสนใจความเป็นไปได้ในการสร้างสัมพันธ์กับคนอื่นมากกว่าคนในเมืองใหญ่ล่ะ?

Frederik:  ผมก็แปลกใจเรื่องนั้นอยู่นิดหน่อย ในเมืองเล็กๆ คุณจะรู้จักคนเก่งๆที่โดดเด่นในถิ่นคุณเร็วกว่า บางที coworking อาจหยิบยื่นมุมมองใหม่และโอกาสที่ต่างออกไป เพราะอาจจะสร้างกลุ่มคนที่สนใจเกี่ยวกับเรื่องเฉพาะอย่างได้ยากในเมืองเล็กๆ

Joel: เรื่องนี้ค่อนข้างพูดยากนะ แต่ผมเชื่อว่า coworkers ในเมืองเราให้ความสำคัญกับการประชุมพบปะกับเจ้าของธุรกิจขนาดเล็กและผู้ประกอบการรายอื่นๆมาก และงานอีเว้นต์ที่ใหญ่ที่สุดของเราที่จัดคืองานที่เน้นการสร้างสัมพันธ์กับคนอื่นๆ

Deskmag: การ สำรวจ coworking ระดับโลกชี้ว่า แม้ว่าผู้คนจะสนใจการพบปะพูดคุยกับคนอื่น แต่พวกเขาก็ยังต้องการรักษาความเป็นส่วนตัวมากกว่า จะอธิบายความต้องการที่ขัดแย้งกันแบบนี้ยังไงดี?

Christopher: coworkers ในเมืองเล็กๆ มีครอบครัว ที่ต้องดูแล พวกเขาออกจากบ้านเพื่อมา coworking บ้างครั้งหรือสองครั้งต่อสัปดาห์ เรามีที่เงียบๆให้ทำงานแล้วก็ยังเป็นโอกาสที่พวกเขาจะได้พูดคุยรู้จักกับคนในวงการงานเดียวกันด้วย นั่นคือประโยชน์ของการมีออฟฟิศ

Frederik: มันฟังดูขัดกันจริงๆ การต้องการความเป็นส่วนตัวเป็นแนวคิดเพื่อป้องกันตัวเองคู่แข่ง คนที่นี่ส่วนมากโตมากับสภาพแวดล้อมการแข่งขัน เพราะอย่างนั้นแนวคิดที่ว่าการแบ่งปันจะนำไปสู่ความสำเร็จ เป็นแนวคิดที่ใหม่สำหรับพวกเขาและต้องใช้เวลาเพื่อทำความเข้าใจ

Coworkers ที่เพิ่งเข้ามาใหม่หลายคนต้องการความเป็นส่วนตัวตั้งแต่แรกเลย ดังนั้นเราก็เลยเสนอทางแก้ปัญหานี้เป็น 2 แบบ หนึ่ง คือมีสำนักงานแบบใช้ร่วมกัน โดยมีผนังกั้นเล็กๆ ที่ทำเอง ให้สูงพอที่จะมองไปรอบๆได้แต่ไม่สามารถเห็นเอกสารของคนอื่นได้ วิธีที่สอง คือมีออฟฟิศเดี่ยวขนาดเล็กหรือสำหรับทีม เรารู้ว่านี่ขัดกับแนวคิดของ coworking แต่เราจะลองดูว่ามันจะทำได้จริงหรือไม่

Joel: ที่นี่ก็มีคนขอออฟฟิศส่วนตัวและห้องประชุมเหมือนกันบางครั้งที่เขาอยาก ‘ระดมหัว’ ทำงานให้สำเร็จ อีกอย่างที่น่าสนใจคือ คนที่ใช้ออฟฟิศส่วนตัวมักไม่ค่อยชอบปิดประตู เพราะชอบคุยกับสมาชิกโต๊ะชั่วคราวข้างนอกไปด้วย

Deskmag: และคำถามสุดท้าย coworkers ในเมืองเล็กมักมีอายุมากกว่า มันทำให้การพูดคุยกันในหมู่ coworkers เปลี่ยนไปหรือเปล่า?

Joel: ที่ space เรามีส่วนผสมที่น่าสนใจ มีสมาชิกอย่างน้อย 1 คน ที่อยู่ในช่วงอายุ 20-60 โดยส่วนมากจะอยู่ในช่วงอายุ 30 ปี ซึ่งทำให้เกิดบทสนทนาข้ามรุ่นที่น่าสนใจ รุ่นเล็กแบ่งปันความรู้เรื่องเทคโนโลยีและแหล่งข้อมูลออนไลน์ ส่วนรุ่นใหญ่ก็แชร์ประสบการณ์ทำงานและวิธีสร้างสัมพันธ์กับคนในวงการทำงาน

Frederik: ผู้ใช้บริการของเรามาจากหลายรุ่นอายุ อย่างเมืองไหนที่มีมหาวิทยาลัยก็จะมีกลุ่มอายุเฉลี่ยที่เด็กกว่า และสถิตินี้อาจสะท้อนค่าเฉลี่ยของประชากรจริงๆก็ได้ อย่างไรก็ตาม ผมเชื่อว่าถ้าคนจากแต่ละรุ่นฟังกัน จะทำให้ทั้งสองฝ่ายได้เรียนรู้กันและกันอีกมาก และเนื่องจากผมให้ความสำคัญกับการสร้างความสัมพันธ์กับคนอื่นค่อนข้างมาก เราเลยกำลังทำมื้อเช้าข้ามวัย ก็อะไรจะทำให้เชื่อมคนเราหากันได้ดีไปกว่าอาหารล่ะ?

Christopher: ประสบการณ์ของผมไม่เป็นไปตามสถิตินะ coworking space แต่ละที่ก็ไม่เหมือนกันขึ้นอยู่กับผู้ดำเนินการ โครงสร้างอายุก็ขึ้นอยู่กับว่าผู้ดำเนินการเปิดกว้างแค่ไหน ส่วนผมคิดว่าการมีคนหลากหลายวัยน่าสนใจกว่ากลุ่มอายุเดียว เพราะจะได้มีเรื่องมาแบ่งปันให้กันได้มากขึ้น

Deskmag: ขอบคุณสำหรับการสัมภาษณ์!




ssfCoworking Statistics

Startpage