Yardi Kube: A single connected platform for flexible workspace management
Yardi Kube

By Anna Cashman - วันจันทร์, 26 พฤศจิกายน 2555

”เสียงจอแจมักเป็นปัญหาจริงหรือ? “ ...แท้ที่จริงแล้วเสียงจอแจรอบ ๆ ตัวที่ไม่ดังเกินไปจนทำให้เกิดเสียสมาธินั้นจะกระตุ้นให้เกิดความคิดในระดับสูงขึ้นไปในระดับนามธรรมและส่งผลให้เกิดความคิดสร้างสรรค์ตามมาเมื่อเปรียบเทียบระหว่างระดับเสียงดังและเบา  ผู้เขียนหนังสือ ‘ สำรวจผลกระทบของเสียงรบกวนรอบตัวต่อการเรียนรู้ที่สร้างสรรค์’ หรือ 'Exploring the effects of ambient noise on creative cognition’ ได้เขียนไว้ ซึ่งจัดทำขึ้นโดย Ravi Mehta, Rui Zhu และ Amar Cheema และได้ตีพิมพ์ลงในวารสารการวิจัยผู้บริโภค

การศึกษาครั้งนี้ตั้งใจศึกษาว่าเสียงรบกวนรอบตัวระดับกลาง (70 เดซิเบล เทียบเท่ากับเสียงยานพาหนะในระยะ 10 เมตร หรือเสียงโทรทัศน์ในระยะ 1 เมตร) จะช่วยเพิ่มความคิดสร้างสรรค์เมื่อเทียบกับระดับเสียงเบากว่า (50 เดซิเบลหรือประมาณเสียงพูดคุยธรรมดาในระยะ 1 เมตร)

ในการประเมินความสามารถทางความคิดสร้างสรรค์ พวกเขาใช้ Remote Associates Test ที่ใช้อย่างแพร่หลาย ‘ในการประเมินความคิดสร้างสรรค์ทั้งทางจิตวิทยาและทางการตลาด’ โดยการศึกษานี้มีการทดลองทั้งหมด 5 ประเภท ผู้เข้าร่วมจะต้องถกเถียงกันอย่างเปิดเผยเพื่อแก้ปัญหาในสถานการณ์สมมติต่าง ๆ  เสียงรบกวนที่ใช้มีทั้งเสียงคนพูดจอแจในร้านกาแฟ เสียงจราจรบนถนนและเสียงงานก่อสร้างที่อยู่ลิบ ๆ ถึงแม้ว่าเสียงเหล่านี้จะไม่มีจริงใน Coworking Space จึงต้องอธิบายให้ทราบเพิ่มเติมว่าการทดลองนี้ศึกษาเฉพาะระดับเสียงที่วัดเป็นเดซิเบลเท่านั้น ยังไม่มีการศึกษาใดที่ใช้ประเภทของเสียงมาวัดด้วย

ในแต่ละการทดลอง พวกเขาพบและสรุปได้ว่าเมื่อมีเสียงรบกวนรอบตัวที่ดังระดับกลาง ผู้เข้าร่วมมีแนวโน้มคิดวิธีแก้ปัญหาที่สร้างสรรค์ได้เพิ่มขึ้น และหนึ่งในการทดลอง ที่ตามหลักการแล้วสามารถตัดสินได้ว่าผู้เข้าร่วมมีความคิดที่แปลกใหม่ขึ้นจริง ๆ : ‘เราแสดงให้เห็นว่าเสียงรบกวนรอบตัวในความดังระดับกลาง ๆ กระตุ้นให้เกิดการประมวลข้อมูลที่ไม่ปะติดปะต่อ ซึ่งนำไปสู่การคิดที่เป็นนามธรรมและตามด้วยการกระตุ้นให้เกิดความคิดสร้างสรรค์’

นอกจากนี้ ‘ในการทดลองที่ 3 ได้สนับสนุนทฤษฎีของเราโดยแสดง (...) ให้เห็นว่าเสียงรบกวนระดับกลาง (เมื่อเทียบกับเสียงเบาๆ) จะกระตุ้นให้เกิดการประมวลข้อมูลช้าลง ซึ่งกระตุ้นให้เกิดความคิดที่อยู่ในโลกที่เราสร้างขึ้นเองและการประมวลผลระดับนามธรรม สุดท้ายส่งผลให้เพิ่มความแปลกใหม่และมิติความสร้างสรรค์ต่าง ๆ ทางความคิด

อย่างไรก็ตาม ก็ยังมีการศึกษาที่รายงานว่าเสียงรบกวนขัดขวางความคิดสร้างสรรค์ การศึกษานี้พบว่าเสียงดัง (85 เดซิเบลหรือเทียบเท่าเสียงจราจรบนถนนใหญ่ในระยะ 10 เมตร) ขัดขวางความสามารถในการประมวลและลดความคิดสร้างสรรค์

ที่น่าสนใจกว่านั้นคือระยะเวลาที่ผู้เข้าร่วมการทดลองได้ยินเสียงรบกวนรอบตัวที่ดังระดับกลาง (เปรียบเทียบกับเสียงเบา) ไม่มีผลต่อระดับความคิดสร้างสรรค์และมีระดับเท่าเดิมตลอดการทดลอง แต่ในทางกลับกันผลการกระตุ้นทางกายภาพของเสียงรบกวนรอบตัวที่ดังระดับกลาง เช่น ความเร็วของหัวใจและความดันเลือด มีการเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดในระหว่างการทดลอง

อีกเรื่องที่น่าคิดคือระดับความวอกแวกหรือการที่ผู้เข้าร่วมการทดลองรู้สึกตัวว่าความคิดเริ่มติดขัดนั้น มีอยู่ตลอดการทดลอง แต่ 2 สิ่งนี้คือตัวการสำคัญที่เพิ่มความคิดสร้างสรรค์ นี่จึงอาจอธิบายได้ว่าทำไมผู้ที่เข้ามาทำงานร่วมกันหรือ Coworker จะรู้สึกว่าเสียงจอแจเป็นสิ่งที่ไม่น่าพอใจไหร่ใน Coworking Space ที่ทำงานอยู่ แต่กลับรู้สึกว่าการมาทำงานที่ Coworking Space พัฒนาความสามารถในการผลิตของธุรกิจได้ แต่ความคิดสร้างสรรค์ที่เพิ่มขึ้นจะเป็นส่วนหนึ่งที่ทำให้ผู้มาใช้บริการที่ Coworking Space พอใจหรือไม่นั้น ยังไม่มีการศึกษาออกมา แต่นั่นก็ไม่ใช่เรื่องที่เป็นไปไม่ได้

นี่เป็นการศึกษาทดลองชิ้นแรกที่สำรวจผลกระทบของระดับเสียงที่มีต่อความคิดสร้างสรรค์ ในทางทฤษฎี การศึกษานี้แสดงให้เห็นว่าคำว่า ‘เสียงรบกวน’ คือเสียงที่ไม่เป็นที่ต้องการ แต่ก็ยังยอมรับแนวคิดที่ต่างออกไป การศึกษาชิ้นนี้เป็นการค้นพบที่สำคัญในวงการในการบริหารพื้นที่ทำงานให้ได้ผลดีที่สุด และเป็นการพิสูจน์ทฤษฎีนี้ว่า สิ่งที่สามารถเพิ่มความคิดสร้างสรรค์และกระตุ้นในเกิดนวัตกรรมใหม่ ๆ ได้จริง ซึ่งเป็น 2 ทักษะที่ไม่ว่าอุตสาหกรรมใดก็ต้องการ ก็คือสถานที่ทำงานที่ไม่เงียบฉี่จนเกินไป

แน่นอนว่าการศึกษาชิ้นนี้ทำให้เข้าใจประสิทธิภาพของสถานที่ทำงานร่วมกันอย่าง Coworking Space มากยิ่งขึ้น ซึ่งใน space นั้นมีระดับเสียงดังเท่ากับสำนักงานทั่ว ๆ ไปอยู่แล้ว การรักษาสมดุลระหว่างเสียงเอะอะกับความสงบนั้นยังคงทำได้ยาก แต่จุดเริ่มต้นที่ดีคือ Coworking Space ควรเปลี่ยนการพูดถึง space ใหม่ โดยไม่พูดถึงเสียงรบกวนรอบ ๆ ให้ไปในทาง ‘ความอึกทึก’ หรือ ‘เสียสมาธิ’ แต่พูดถึง ‘ระดับเสียง’ และ ‘การเพิ่มพูนความคิดสร้างสรรค์’ จะเหมาะกว่า

:::

Is Noise Always Bad? Exploring the Effects of Ambient Noise on Creative Cognition.

ssfCoworking Statistics

Startpage