Yardi Kube: A single connected platform for flexible workspace management
Yardi Kube

By CARSTEN FOERTSCH - วันอังคาร, 26 กุมภาพันธ์ 2556

5 เหตุผลว่าทำไมการเติบโตของ coworking space จึงมาจากการเติบโตแบบค่อยเป็นค่อยไปและยั่งยืน:


และแล้ว ก็มีความคิดเห็นที่น่าฟัง สนับสนุนว่าทำไม coworking space จึงไม่พัฒนาในแบบฟองสบู่: เพราะว่ามันสร้างความมั่งคั่งที่แท้จริงได้ด้วยตัวเอง

ไม่ว่าจะย้อนไปยุคฟองสบู่สมัยดอทคอม เมื่อทศวรรษที่ผ่านมา หรือวิกฤตอสังหาริมทรัพย์ที่ประเทศสเปนหรือสหรัฐอเมริกา วิกฤตครั้งนั้นเกิดจากค่าเงินลอยตัว โดยผู้ส่งและผู้รับไม่รู้จักกัน มีเม็ดเงินลงทุนหมุนเวียนเป็นสายจากทั้งในกองทุนและธนาคารต่างๆ ซึ่งน่าดึงดูดและดูจะได้ผลตอบแทนสูง แต่หลังจากนั้นไม่นาน ทั้งหมดก็กลายเป็นเพียงภาพลวงตาและการลงทุนหลายแห่งล้มละลาย

การจัดสรรความเสี่ยงใหม่ช่วยสร้างภาพ พวกที่เป็นคนกระจายเม็ดเงินมักไม่ได้เป็นคนที่ตัดสินใจเรื่องความเสี่ยงทางการ ลงทุน คนที่แบกรับความเสี่ยงมักจะเป็นผู้ถือหุ้นรายย่อยหรือคนที่ลงทุนเพียงบาง ส่วน นี่เป็นเพราะว่าความคิดเห็น (ที่เป็นเหตุเป็นผล) ของทั้ง  2 ฝ่ายถูกกลืนไปกับเสียงดึงดูดของตลาด หรือไม่ก็เนื่องจากผู้ถือหุ้นรายย่อยไม่รู้ถึงความเสี่ยงและมีข้อมูลที่คิด ว่าน่าเชื่อถือจากธนาคารและกองทุนต่างๆ

เงื่อนไขอีกอย่างที่เป็นลักษณะของฟองสบู่คือ มีเงินจำนวนหลั่งไหลมาจากที่ต่างๆทั่วโลก มารวมอยู่ในสถานที่เพียงไม่กี่แห่ง

Coworking space ส่วนใหญ่ได้รับเงินทุนจากในท้องถิ่นหรือแหล่งใกล้ตัวและไม่ดำเนินการภายใน ระบบเงินที่ว่านี้ ที่จริงแล้ว ส่วนมาก ผู้ก่อตั้งจะมีเงินทุนอยู่แล้วก้อนหนึ่ง แล้วจึงค่อยหาเงินสนับสนุนจากเพื่อนหรือญาติอีกที ซึ่งคนพวกนี้ก็จะต้องเผชิญกับความเสี่ยงของการลงทุนจำนวนน้อยด้วย

พวกเขาสามารถเข้าถึงข้อมูลต่างๆได้เพราะเป็นงานของตัวเอง ไม่ใช่งานอะไร ของใครก็ไม่รู้ นี่ยังรวมถึงการล้มเหลวและผิดพลาดที่จะต้องเจอระหว่างการบริหารงาน แต่การกระจายความเสี่ยงก็จะมีต่ำกว่า ดังนั้นจึงลดความเป็นไปได้ที่จะล้มเหลวน้อยลง

2. ตลาดการทำงานได้เปลี่ยนลักษณะความต้องการของงานสำนักงานบางประเภทอย่างสิ้นเชิง

ผู้ใช้บริการ coworking spaces ส่วนใหญ่ทำงานอิสระ  สัดส่วนของพนักงานประจำกำลังเพิ่มจำนวนขึ้น ส่วนมากเป็นเพราะพวกเขาทำงานกับบริษัทขนาดเล็กที่เลือกดำเนินการธุรกิจใน coworking space มากกว่าในสำนักงานแบบเก่า ผู้มาใช้บริการส่วนใหญ่ใน coworking space คือคนที่ทำงานในวงการครีเอทีฟที่ใช้อินเทอร์เน็ตในการทำงานเป็นหลัก

เนื่องจากความยืดหยุ่นของตลาดการทำงานขณะนี้, เทคโนโลยีเคลื่อนที่สมัยนี้ที่ทำให้รูปแบบการทำงานเปลี่ยนไปและการซื้อหาบริ การข้างนอกจากบริษัทขนาดกลางและใหญ่ (การจัดจ้างคนภายนอก) ทำให้ตลาดแรงงานหลายๆแห่งทั่วโลกเปลี่ยนไปอย่างมาก

ความต้องการความมั่นคงทั้งทางด้านการเงินและความรู้สึกจากการเป็นลูกจ้างไม่มี อีกต่อไปแล้ว โดยเฉพาะคนทำงานรุ่นใหม่ บริษัทใหญ่ๆอยากจะลดจำนวนคนมากกว่าจ้างเพิ่มด้วยซ้ำ แล้วยังมีการทำสัญญาระยะสั้นและหมิ่นเหม่เพิ่มมากขึ้น ตัวเลือกที่พอจะดูมีหวังในตลาดการทำงานสมัยนี้คือ ทำงานอิสระและทำธุรกิจส่วนตัว

ซึ่งนั่นก็เป็นไปได้แม้มีเงินลงทุนไม่มากนัก แค่มีคอมพิวเตอร์แล็ปท็อป มันสมองและรู้จักคนมากๆก็เพียงพอแล้ว จำนวนผู้ทำงานอิสระและธุรกิจขนาดเล็กเพิ่มจำนวนขึ้นทั่วโลกมาหลายปีแล้ว โดยเฉพาะอย่างยิ่งในวงการครีเอทีฟที่ใช้อินเทอร์เน็ตเป็นหลัก ใครก็ตามที่มีทักษะการทำงานเฉพาะอย่างและกล้าเสี่ยงจะสามารถปรับตัวให้เข้า กับเงื่อนไขตลาดแบบนี้ได้เร็วกว่า หากพวกเขาเป็นเจ้าของบริษัทขนาดเล็กหรือทำงานอิสระ เร็วกว่าการที่ทำงานเป็นลูกจ้างในตลาดที่เปลี่ยนแปลงง่ายพอๆกัน

Coworking space สร้างบรรยากาศขึ้นมาก็มาเพื่อการณ์นี้ เมื่อพวกเขาเริ่มใช้บริการที่ coworking space (ที่เหมาะสม) แล้วพวกเขาก็จะเล็งเห็นปัจจัยเหล่านี้ได้ชัดเจนขึ้นเอง และจะเลือกทำงานที่นั่นต่อไปอีกนาน

นอกจากนั้น คนทำงานอิสระมักไม่ค่อยตกอยู่ในเหตุการณ์วิกฤตเท่าไหร่นัก แม้แต่บริษัทขนาดเล็กก็ยังมีแนวโน้มเลิกจ้างพนักงานน้อยกว่า เมื่อเทียบกับบริษัทขนาดใหญ่ ส่วนผสมแบบนี้ทำให้เกิดโมเดลธุรกิจที่ยั่งยืนมากขึ้นและมีโมเดลแบบ Groupon น้อยลง

>> หน้าต่อไป coworking space เกิดมาจากช่วงวิกฤติจริงหรือ?


3. Coworking space ไม่ได้อยู่ได้ด้วยวิกฤต

การเติบโตของเศรษฐกิจโลกกำลังเฉื่อยชาลงเรื่อยๆ ในขณะที่ coworking spaces กำลังเพิ่มจำนวนขึ้น อย่างนี้ถือว่า coworking spaces ได้ประโยชน์จากวิกฤตนี้รึเปล่า?

วิกฤต ในขณะนี้เร่งการเกิดและเติบโตของ coworking spaces เพราะ coworking spaces มีทางออกและพื้นที่สำหรับปัญหาที่เกิดตามมาจากวิกฤตนั้น ดังนั้น coworking spaces จึงไม่ได้เป็นผลลัพธ์จากวิกฤตแต่เป็นผลจากการเปลี่ยนแปลงที่เกิดก่อนหน้านี้ ต่างหาก วิกฤตที่เกิดขึ้นเป็นแค่การเปลี่ยนแปลงที่เห็นได้ชัดที่สุดเท่านั้นเอง
Coworking space แห่งแรกเกิดขึ้นมาเมื่อช่วงปลายยุค 1990 และเริ่มเติบโตอย่างมากเมื่อหกปีที่แล้วก่อนเศรษฐกิจตกต่ำในหลายประเทศ

4. Coworking space พึ่งพาความจำเป็นของสมาชิก

Coworking spaces ส่วนใหญ่ไม่เคยเต็ม นี่แปลว่าธุรกิจไปได้ไม่ดีหรือเปล่า? โดยเฉลี่ยแล้ว โต๊ะจะถูกจองไปเพียงแค่ครึ่งเดียว แต่อัตราการจอง 50% มักเป็นวันที่เฉพาะเจาะจง

ที่ จริง coworking space มีสมาชิกหมุนเวียนมาใช้มากกว่าจำนวนที่นั่งที่มี เพราะสมาชิกทุกคนไม่ได้มาใช้ coworking space พร้อมๆกันนี่นา Coworking spaces เป็นสถานที่สำหรับคนทำงานอิสระที่ต้องการเวลาทำงานที่ยืดหยุ่น Coworking space ขนาดเล็กจะพึ่งสมาชิกขาประจำมากกว่า ส่วนพวกขนาดใหญ่จะตอบสนองความต้องการเรื่องเวลาการทำงานที่ยืดหยุ่นของ สมาชิกได้และสามารถเช่าโต๊ะได้หลายครั้งซ้ำๆ

หาก coworking space ไหนที่มีผู้ใช้บริการมากเกินหรือว่างเกินไปนั้นถือว่าไม่เป็นไปตามจุด ประสงค์ของ space นั้นๆ อย่างแรก เพราะการทำงานในที่คนเยอะอย่างนั้นแทบจะเป็นไปไม่ได้ สอง เราไม่สามารถทำงานร่วมกับคนอื่นได้ในห้องโล่งๆ ถ้าจะว่ากันตามลักษณะของสมาชิกที่ต้องการความยืดหยุ่นในการทำงานแล้ว coworking space จะอยู่ได้ก็ต่อเมื่อพอดีกับความต้องการของสมาชิก ไม่อยากนั้น สมาชิกอาจเปลี่ยนไปทำงานที่อื่นได้ทันทีและมีการเปลี่ยน space ไปมาบ่อยกว่านี้

5. อีกนาน กว่า Coworking space จะถึงจุดอิ่มตัว

คน ทำงานอิสระไม่ถึง 2% และพนักงานประจำน้อยคนยิ่งกว่านั้นทำงานที่ coworking space อยู่ในตอนนี้ รายงานเกี่ยวกับ coworking space อาจเพิ่มมากขึ้น แต่สำหรับในสื่อกระแสหลักก็ยังมีไม่มากนัก


การ ทำข่าวเกี่ยวกับ coworking space มักพบได้ในคอลัมน์หางานหรือคอลัมน์ท้องถิ่นของสำนักพิมพ์ใหญ่ๆ ส่วนการได้ลงปกยังเป็นความฝันของเจ้าของ coworking space หลายๆเจ้าอยู่ นี่เป็นเพราะว่าความเป็น coworking ไม่สามารถขมวดไว้ในรูปภาพภาพเดียวได้ สิ่งที่ดูจะเป็นข้อเสียเปรียบแต่จริงๆแล้วเป็นประโยชน์ก็คือ การได้ลงข่าวในสื่อเฉพาะกลุ่ม ซึ่งทำให้ธุรกิจค่อยๆโตทีละน้อยและไม่ขยายตัวเร็วเกินไปจนเฟ้อ

Conclusion ข้อสรุป

Coworking spaces ไม่ได้ดำเนินการอยู่บนเอกภพคู่นานเหมือนตลาดการเงิน อุปสงค์และอุปทานนั้นมาจากภายในเพียงอย่างเดียว และดำเนินการในโลกเศรษฐกิจจริงๆ

และ เพราะเหตุผลเดียวกัน ไม่มีอะไรมารับรองว่า coworking space ที่คุณเปิดจะประสบความสำเร็จ หากไม่เรียนรู้ว่าจะปฏิบัติตัวกับคนที่จะมาเป็นลูกค้าในตลาดอย่างไร หรือไม่คุ้นเคยกับการทำงานของคอมมิวนิตี้ภายใน coworking spaces อาจมีปัญหาในการดำเนินการให้ประสบความสำเร็จ ก็เหมือนกับธุรกิจประเภทอื่นๆ ที่ไม่สามารถประสบความสำเร็จได้หากไม่เข้าใจตลาดของธุรกิจตนเองนั่นแหละ

สำหรับ ใครที่เพิ่งเริ่มทำความเข้าใจกับคำว่า ‘coworking’ ใน coworking spaces ของตัวเองคงต้องพยายามให้มากขึ้นกว่าเดิม โครงสร้างของ coworking spaces ส่วนมากนั้นมาจากการทำงานจริง, ความเสี่ยงที่คาดว่าจะเกิด,และอุปสงค์และอุปทานที่มีอยู่จริง

ssfCoworking Statistics

Startpage