Yardi Kube: A single connected platform for flexible workspace management
Yardi Kube

By Christina Ng - วันอังคาร, 21 พฤษภาคม 2556

หนึ่งในผู้ก่อตั้ง coworking space "Kennel" คุณ Ho Ren Yung วัย 27 ปี บอกว่าการเปิดให้บริการ coworking space เป็นการเพาะเมล็ดพันธุ์เทรนด์การทำงานแบบใหม่นี้ให้ชาวสิงคโปร์ได้ลอง ถ้าการทำงานแบบเดิมๆ ทำให้หมดแรงบันดาลใจพัฒนาตัวเองและคิดอะไรใหม่ๆ ก็ไม่มีทางอื่นอีกแล้วนอกจากลองทำสิ่งที่ไม่เคยทำ

Ho บอกว่า “เราอยากเห็นมันเป็นที่ที่คนมาแล้วรู้สึกปลอดภัยและสนับสนุนให้คนทดลองทำอะไรใหม่ๆ ค้นหาสิ่งที่ตัวเองชอบและกล้าเสี่ยง ธรรมเนียมเก่าๆ ในสิงคโปร์อย่างระบบการศึกษาไม่ได้ช่วยกระตุ้นเรื่องพวกนี้เท่าไหร่นัก”

Kennel ซ่อนตัวอยู่ที่ถนน Dempsey เส้นเขียวชะอุ่มใจกลางถนนช้อปปิ้งที่วุ่นวายของสิงคโปร์อย่าง ถนน Orchard Road โดยเป็นที่ทำงานร่วมกันในหมู่เจ้าของกิจการครีเอทีฟ ที่นี่ถูกวางไว้ให้เป็นทั้งพื้นที่ทำงานและเล่นสนุก มีแผนต่อยอดความคิดสร้างสรรค์ให้สมาชิกและเป็นคอมมิวนิตี้ที่ยินดีต้อนรับทุกคน

ทุกเดือนจะมีกิจกรรมและอีเว้นท์ทั้งแผนพัฒนาตัวเองจากสมาชิกที่จะมาช่วยกันแชร์ความสามารถของตัวเอง ไม่ว่าจะในรูปแบบการจัดเวิร์กช็อป, บรรยายหรือกิจกรรมอื่นๆ ที่นี่เคยเชิญ Fredrik Härén ผู้เขียนหนังสือThe Idea Book มาพูดเรื่องความคิดสร้างสรรค์มาแล้ว แล้วยังจัดให้มีหัวข้อพูดคุยแลกเปลี่ยนกันในกลุ่มอยู่เรื่อยๆ ในงานชื่อว่า Kennel Nights

ผู้ก่อตั้งทั้ง 3 คน Ho, Mark Wee และ Ken Yuktasevi เชื่อว่าการทำงานมีแนวโน้มเปลี่ยนแปลงไป โดยจะกลมกลืนไปกับชีวิตประจำวัน หลายคนเป็นเจ้าของกิจการของตัวเองและทำงานร่วมกับคนอื่นๆมากขึ้น การเปลี่ยนแปลงนี้ส่งผลกับชาวสิงคโปร์เป็นอย่างมาก เพราะหลายคนยังชิลกับชีวิตที่สบายอยู่แล้วของตัวเอง

ถึงอย่างนั้น Ho ก็มองว่าคนสิงคโปร์เริ่มเห็น coworking และการเป็นเจ้าของกิจการเป็นทางเลือกหนึ่งสำหรับชีวิตแล้ว ซึ่งที่จริงก็เห็นได้จากจำนวน coworking space ที่ผุดขึ้นมาเป็นดอกเห็ด เมื่อปี 2012 สิงคโปร์กลายเป็น 1 ใน 10 ประเทศที่มี coworking space มากที่สุดเมื่อเทียบกับจำนวนประชากร ประเทศสิงคโปร์ที่มีประชากรประมาณ 5 ล้านคน มี coworking space ถึง 10 ที่

>> หน้าต่อไป: รัฐบาลสิงคโปร์สนับสนุนทั้ง coworking space และโฮมออฟฟิศ (!)


หลังเล็งเห็นพฤติกรรมคนทำงานที่เริ่มเปลี่ยนไป รัฐบาลสิงคโปร์จึงเริ่มเปิดรับการทำงานรูปแบบใหม่นี้ เมื่อเดือนเมษายน 2012 รัฐได้ออกเงินช่วยเหลือเพื่อพัฒนาพื้นที่ทำงานร่วมกันและโฮมออฟฟิศต่างๆ โดยเน้นช่วยให้ลูกจ้างที่มีครอบครัวให้สามารถจัดสรรเวลางานและเวลาครอบครัว ได้เหมาะสม ส่วนใครที่ไม่สามารถนั่งทำงานอยู่กับบ้านได้ ก็จัดให้มี “Smart Work Centres” กระจายทั่วเกาะเพื่อให้คนออกมาทำงานในพื้นที่ทำงานแบบแชร์ใกล้บ้านได้

“ตอนนี้มันกำลังเป็นที่นิยมมากๆ แถมยังมีรัฐบาลและบริษัทใหญ่ๆให้ความสนใจอีก อีกหน่อย สำนักงานแบบให้เช่าคงต้องหันมาทำแบบนี้ จริงๆก็เริ่มกันบ้างแล้วนะคะ โดยจัดพื้นที่ให้เปิดโล่งขึ้น มีพื้นที่ทำงานร่วมกันแทนที่จะกั้นเป็นคอกๆ” Ho เล่าต่อ

ก้าวแรกที่พวกเขาลองเสี่ยง ทำให้อีกหลายๆ คนตัดสินใจเดินตาม นอกจาก Kennel ที่ดึงดูดคนทำงานครีเอทีฟอย่างช่างภาพและนักออกแบบ อายุประมาณ 25-35 ปี ยังมี cowoking space อีกหลายแห่งที่กำลังขยายตัว เป็นนิยมทั้งคนที่ทำงานวงการเทคโนโลยี, อุตสาหกรรมไปจนถึงโซเชียล มีเดีย อย่างเช่น Hackerspace ที่มีชื่อว่าเป็นห้องนั่งเล่นและห้องทดลองของเหล่าแฮคเกอร์ เป็น space ที่ให้ความสำคัญเรื่องคอมมิวนิตี้ ซึ่งได้รับความสนใจจากวงการเทคโนโลยีเป็นส่วนใหญ่ แล้วยังมี space อย่าง MakeSpaceThe HUB Singapore หรือ Cowork@SG ซึ่งเป็นผู้บริหาร SmartspaceSpace at 8 และ Club 71 ทั้งหมดนี้ก็เพราะแรงงานคลื่นลูกใหม่ของประเทศที่ทำกิจการส่วนตัวและไม่ชอบทำงานในสำนักงานที่อยู่กับที่นั่นเอง

Grace Sai ผู้ก่อตั้ง The Hub Singapore บอกว่า “สิงคโปร์เปิดรับแนวคิดใหม่นี้แล้วเราก็เริ่มทำ The HUB ถูกที่ถูกเวลาและได้แรงสนับสนุนถูกคน”

The Hub ตั้งอยู่ที่ถนน Orchard Road อยู่ในตึกที่ส่วนหนึ่งเป็นของสภาเยาวชนแห่งชาติ หรือ Singapore National Youth Council The Hub ก่อตั้งขึ้นในลอนดอนเมื่อปี 2005 สำหรับคนที่ทำธุรกิจเพื่อสังคมให้มาพบปะ มาแลกเปลี่ยนและพัฒนาการลงทุน Sai มีไอเดียในใจอยู่แล้วเมื่อตอมเริ่มทำ The Hub ของสิงคโปร์ เธอทนไม่ได้เมื่อหลังเรียบจบแล้วรู้สึกว่าการประสบความสำเร็จคือเรื่องของ เงินและผลกำไรเท่านั้น

ปัจจุบัน The Hub เป็นธุรกิจเพื่อสังคมระดับโลกที่จัด coworking space ให้คนที่อยากเข้ามาช่วยแก้ปัญหาทั้งทางสังคม วัฒนธรรมและสิ่งแวดล้อมที่เกิดขึ้นในโลกเรา แรกเริ่ม สำนักงานใหญ่ของ The Hub อยู่ที่ประเทศออสเตรีย และตอนนี้ก็ได้ขยายไปสู่เมืองต่างๆถึง 32 สาขา ทั้งที่ Melbourne และ Johannesburg และมีสมาชิกถึง 5,000 คนจาก 5 ทวีปทั่วโลก

ที่ Hub สิงคโปร์ สมาชิกจะมีแอคเค้านท์ส่วนตัวเพื่อมีส่วนร่วมในคอมมิวนิตี้ของสมาชิกทั่วโลกได้ โดยจะสิทธิพิเศษอย่างโอกาสเข้าร่วมงานอีเว้นท์ใหญ่ๆ, เวิร์คช็อป, ไปจนถึงโอกาสได้ทำงานร่วมกับสมาชิกคนอื่น, ร่วมฟังบรรยายและสามารถใช้บริการ HUBs ในเมืองต่างๆ อย่าง San Francisco ได้ Hub สิงคโปร์ เป็น Hub แห่งแรกในเอเชียและกำลังจะมีเมืองอื่นตามมาอีกทั้งโซลและโตเกียว

“การทำกิจการเองบางครั้งก็เหงาเหมือนกัน ที่ Hub เลยเหมือนเอาคนที่ทำงานวงการเดียวกันมาเจอและทำความรู้จักกัน” Sai เล่า

นอกจากจะมี coworking spaces ที่อยู่ใจกลางเมืองอย่าง The Hub และ Kennel แล้ว ยังมี spaces อื่นๆที่ตั้งอยู่นอกเมืองด้วย หนึ่งในนั้นก็คือ Cowork@SG ที่ ถนนJoo Chiat ซึ่งเป็นพื้นที่อยู่อาศัยที่อนุรักษ์ไว้ ตั้งอยู่ทางฝั่งตะวันออกของเกาะ และยังมีอีก 2 สาขาทางฝั่งตะวันตกซึ่งเป็นพื้นที่อุตสาหกรรม และ อีกหนึ่งแห่งกลางใจเมือง

Bernie Chew วัย 37 ผู้ร่วมก่อตั้ง Cowork@SG เมื่อปี 2011 ตั้งแต่สมัยเทรนด์ coworking เริ่มฮิตในสิงคโปร์ Chew เล่าให้ Deskmag ฟังว่าหลังจากออกจากประจำและกำลังก่อตั้งดิจิตอลเอเจนซี่ของตัวเอง เธอพยายามมองหาที่ทำงานที่ย้ายไปมาได้ นี่เลยกลายเป็นจุดเริ่มต้นให้เธอทำ Cowork@SG ขึ้นมา

“ฉันได้เจอผู้คนเยอะแยะไปหมด เป็นประสบการณ์ที่ได้อะไรเยอะมากจริงๆ ฉันก็หวังว่าต่อไปเราจะยังตอบสนองความต้องการของคนที่ทำกิจการส่วนตัวได้อยู่ แต่ไม่ใช่เป็นที่ทำงานที่มีข้อผูกมัดนานๆแต่อยากให้คนที่มารู้สึกเป็นส่วนหนึ่งคอมมิวนิตี้มากกว่า” Chew บอก

ตอ นี้ Coworking space ของ Cowork@SG มีสมาชิกอายุตั้งแต่ปลายๆ 20 ไปจนถึงวัย 40 ซึ่งเป็นเจ้าของธุรกิจส่วนตัว, ธุรกิจ startups และใครก็ตามที่ไม่อยากทำงานในที่ทำงานตายตัว เหมือนกับว่าคนสมัยนี้กลับไปโหยหาชีวิตที่ได้เดินทางไปที่ต่างๆเรื่อยๆ แบบยิปซีแต่ก่อน แต่ปรับให้เข้ากับยุคใหม่ กลายเป็น coworking space ที่รวบรวมความสามารถจากคนหลายๆคน ให้กลายเป็นธุรกิจใหม่ได้

“ถ้าเรายังสามารถตอบสนองความต้องการของแรงงานที่มองหาความยืดหยุ่นและการทำงาน ที่ไม่ตายตัวได้แบบนี้ แนวคิด coworking น่าจะพัฒนาได้อีกไกลและดึงดูดคนได้อีกมากในอนาคต” Chew เล่าต่อ

แล้วก็เป็นอย่างที่ว่า ไม่ใช่แค่คอนเซ็ปต์ coworking ที่กลายเป็นกระแสนิยมในสิงคโปร์ แต่ยังลามไปเมืองอื่นๆ อย่างกรุงเทพและโซลด้วย  ส่วนมากคนจะรู้จัก coworking ว่ามาจากพวกเนิร์ดคอมฯ ตามเมืองอย่าง San Francisco และ New York เท่านั้น แต่ที่จริงเทรนด์การทำงานแบบนี้ก็เริ่มเป็นที่นิยมในประเทศอื่นๆด้วยเหมือนกัน จนแทบจะมากกว่าสหรัฐฯ ประเทศต้นกำเนิดจริงๆด้วยซ้ำ และจากผลการสำรวจ Coworking ทั่วโลกครั้งที่ 2 พบว่า มี coworking space เกินครึ่งที่ไม่ได้อยู่ในสหรัฐอเมริกา ซึ่งหลายๆ space ก็กำลังพัฒนาและเติบโตอย่างรวดเร็ว coworking ยังเป็นที่นิยมในหลายวงการ ทั้งอุตสาหกรรม, การออกแบบ, สุขภาพ, และรถยนต์ด้วยเหมือนกัน

ในอนาคต คาดว่า coworking จะไปได้ไกลยิ่งกว่าเดิมที่สิงคโปร์ เพราะหลายคนก็อยากเป็นนายตัวเองและทำโปรเจกต์ทำงานเจ๋งๆ มากกว่าเป็นลูกจ้าง แล้วยังได้เจอและแลกเปลี่ยนความคิดกับคนอื่นๆที่มาจากต่างวงการและวัฒนธรรมที่หลากหลาย

สำหรับ Ho เอง แม้ว่า coworking ดูจะดึงดูดหนุ่มสาวสมัยใหม่มากกว่า แต่คอมมิวนิตี้ในตัวเมืองก็ยังโตขึ้นเรื่อยๆ ซึ่งก็เป็นเพราะมันตอบโจทย์สิ่งที่ทุกคนต้องการ นั่นคือความอิสระในการได้ทำตามใจฝันและเป็นเจ้าของอะไรซักอย่างของตัวเอง

เธอบอกอีกว่า “มันลงล็อกกับความต้องการของคนพอดีตรงที่ การทำงานแบบนี้มันแสดงให้เห็นถึงการพึ่งพาตัวเอง, อิสรภาพและความยืดหยุ่นไม่ตายตัว แถมยังได้ทำในสิ่งที่ตัวเองชอบอีกต่างหาก ซึ่งคือสิ่งที่หลายคนบนโลกใฝ่ฝันอยากทำงานแบบนี้ทั้งนั้น”

อัพเดท: ตอนนี้ Kennel กำลังมองหา space ที่ใหม่

ssfCoworking Statistics

Startpage