Yardi Kube: A single connected platform for flexible workspace management
Yardi Kube

By Christina Ng - วันพุธ, 24 เมษายน 2556

สำหรับนักพัฒนาเว็บไซต์อิสระอย่าง Kwong Sham วัย 24 ปีที่กว่าจะโน้มน้าวพ่อแม่ให้เข้าใจวิถีงานอิสระนั้นไม่ใช่ง่าย หลังจบจากคณะวิศวกรรมสารสนเทศ ที่บ้านก็ต้องการให้เลือกงานที่มั่นคงอย่างด้านการลงทุนซึ่งเขาเองก็ทำได้ดี แต่นั่นไม่ใช่ชีวิตแบบที่เขาต้องการ เพราะ Kwong อยากเป็นนายตัวเองมากกว่า ได้ทำงานที่บ้านและมีเวลาทำงานไม่ตายตัว

“ผมอยากทำงานที่ตัวเองมีหน้าที่ชัดเจนและลงแรงกับมันจริงๆ ผมอยากให้ตัวงาน, ความรู้ที่มีและประสบการณ์พิสูจน์ตัวผมเองมากกว่า ไม่ใช่เพราะทำงานบริษัทใหญ่หรือได้เงินเดือนเยอะ”

แล้วเขาก็ได้เจอ coworking space ชื่อ The Good Lab ซึ่งช่วยประคับประคองอาชีพนักพัฒนาเว็บไซต์ในช่วงแรกๆของเขา

Kwong เล่าว่า “การเข้าไปทำงานที่ The Good Lab ทำให้ได้รู้จักคนเยอะขึ้นมาก แล้วหนึ่งในผู้ก่อตั้งก็เคยเป็นลูกค้าผมมาก่อน พูดได้เลยว่าที่นี่เป็นที่ที่ทำให้คนทำงานอิสระได้ทำงานอย่างเต็มความสามารถ จริงๆ”

The Good Lab เป็น coworking space พื้นที่ขนาด 10,000 ตารางฟุต ตั้งอยู่ทางตะวันตกของเกาะเกาลูน และเพิ่งเปิดบริการเมื่อเดือนกันยายนที่ผ่านมา โดยได้แรงบันดาลใจมาจาก The Hub ธุรกิจเพื่อสังคมระดับโลกที่ให้บริการ coworking space สำหรับใครก็ตาม ที่อยากแก้ปัญหาความกดดันทั้งด้านสังคม, วัฒนธรรมและสิ่งแวดล้อมในโลกสมัยนี้ เพราะเหตุนี้ The Good Lab เลยมุ่งเป้าไปที่การช่วยเหลือผู้ประกอบการทางสังคมในท้องถิ่นของฮ่องกง โดยต้องการสร้างทางเลือกที่หลากหลายขึ้นให้กับธุรกิจน้องใหม่ที่นี่

“คนรุ่นใหม่เริ่มเห็นแล้วว่าทางเลือกนี้เป็นอีกเส้นทางอาชีพที่ไม่ได้อยู่ใน กระแสหลัก (ซึ่งส่วนมากก็คือไฟแนนซ์) ใครที่ใจกล้าหน่อยก็จะเลือกเริ่มกิจการตัวเองเลย Good Lab ก็หวังว่าที่นี่จะเป็นที่ที่คนที่อยากเปลี่ยนแปลงโลกมาพบปะกันและต่อยอดงาน ของตัวเองได้ ด้วยความช่วยเหลือส่วนหนึ่งจากเรา” Tony Yet ผู้ดูแลคอมมิวนิตี้ Good Lab วัย 27 บอก

The Good Lab ตั้งขึ้นโดยธุรกิจทางสังคม 4 แห่งในฮ่องกง นั่นก็คือ Dialogue in the Dark Hong Kong, Social Venture Hong Kong, Hong Kong Social Enterprise Forum และ Make a Difference ผู้สนับสนุนหลัก ซึ่งก็คือนักพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ สร้างที่นี่ให้มีบรรยากาศอบอุ่นสบายๆ ช่วยให้คำแนะนำ, มีคอนเน็คชั่นกับคนอื่นๆในวงการ รวมถึงจัดกิจกรรมที่น่าสนใจไว้ให้สมาชิกอย่างการจัดการความเครียดและเวิร์ค ช็อปนวัตกรรมใหม่ๆ

“Coworking ทำให้เราได้เปิดหูเปิดตาเจอไอเดียใหม่ๆ เหมาะมากเวลาต้องคิดริเริ่มอะไรเจ๋งๆที่ไม่ซ้ำคนอื่น ซึ่งในสมัยนี้ถือว่าสำคัญมากและหาไม่ค่อยได้ในสำนักงานแบบเดิมๆ” Yet บอก

สำนักงานและสไตล์การทำงานแบบดั้งเดิมยังได้รับความนิยมอยู่มากในหมู่คนฮ่องกงส่วน ใหญ่ Kwong ผู้รับงานออกแบบเว็บไซต์อิสระตั้งแต่เรียนจบ เล่าว่า การทำงานวิศวกรรมสารสมเทศไม่ได้มีภาพลักษณ์ที่ดีเท่าไหร่อยู่แล้ว เพราะคนฮ่องกงจะมองอาชีพนี้ว่าไม่มีความก้าวหน้าเท่าไหร่ ได้เงินตอบแทนน้อย ไม่มั่นคงและเสี่ยงเกินไป

Coworking จึงเป็นแนวคิดที่ใหม่ที่ไม่เข้าพวกเท่าไหร่นัก ส่วนมากเป็นเพราะคนฮ่องกงส่วนใหญ่มองว่าไม่น่าทำได้จริง เด็กจบใหม่เหมือน Kwong เลยต้องพับเก็บความฝันแล้วหันไปทำงานที่ได้เงินเดือนเยอะอย่างไฟแนนซ์เพื่อ ความมั่นคงให้ชีวิต แล้วยิ่งบวกกับแรงกดดันจากที่บ้านยิ่งทำให้การเริ่มเป็นเจ้าของกิจการยิ่ง ยากขึ้นไปอีก

จากบทความในหนังสือพิมพ์โดยเว็บไซต์ของฮ่องกงชื่อ thehousenews.com ซึ่งเป็นเว็บไซต์แนวเดียวกับ Huffington Post ของอเมริกา มีทั้งรายงานข่าวและบล็อก ได้ลงว่า ความพยายามจากรัฐเพื่อช่วยเหลือด้านเทคโนโลยีสารสนเทศและนวัตกรรมยังไปไม่ ถึงฝั่งเท่าไหร่ โดยรัฐเน้นแต่โปรเจ็กต์ค้นคว้าและหวังกำไรเร็วๆ เงินสนับสนุนหลายก้อนเลยถูกถอนออกไปเพราะไม่เห็นผลลัพธ์ทันใจ ซึ่งนี่ก็เป็นอีกสาเหตุที่ไม่ช่วยผลักดันวงการเทคโนโลยีสารสนเทศหรือให้ กำลังใจเจ้าของกิจการชาวฮ่องกงกันซักเท่าไหร่นัก

Jonathan Buford วัย 37 ปี หนึ่งในผู้ก่อตั้ง coworking space ในฮ่องกงชื่อ BootHK ที่ตั้งอยู่ที่เดียวกับอีก space ที่ชื่อ HKCommons ในย่านเก๋อย่าง Sheung Wan และ Lai Chi Kok เล่าว่า “จริงๆเนื้อในของวงการ start-up อาจไม่ได้อยู่เทคโนโลยีที่ก้าวหน้า อย่างที่ฮ่องกง เราต้องการมุ่งพัฒนาวงการสร้างสรรค์ต่างหากและทางปักกิ่งก็มีท่าทีชัดเจนว่า เซียงไฮ้คือแหล่งเงินทุน”

Buford เองที่มาจากอเมริกายังเห็นว่าวงการ start-up ในฮ่องกงยังค่อยๆพัฒนาไปอย่างช้าๆ แต่ก็ยังมองเห็นศักยภาพในการเริ่มธุรกิจใหม่ๆบนเกาะฮ่องกงอยู่ อย่างกรณี BootHK ซึ่งเป็นคอมมิวนิตี้ที่ต้องการสร้างเครือข่าย coworking space ทั่วเกาะ โดยมีบรรยากาศต่างๆกันไป อย่าง space สำหรับผู้เชี่ยวชาญด้านไอที, ห้องปฏิบัติงานจริง, งานพบปะกันในหมู่ศิลปิน, เจ้าของกิจการและผู้เชี่ยวชาญด้านเทคโนโลยี ซึ่ง Buford ก็ลงทุนควักเนื้อเพื่อลงทุนสร้างคอมมิวนิตี้นี้ขึ้นมา รวมค่าใช้จ่ายทั้งหมดประมาณ 15K USD หรือประมาณ 440,260 บาท

“ผมคิดว่าธุรกิจ start-up ในช่วงเริ่มแรก ควรมีที่ทำงานและพบปะกันได้ด้วย แล้วก็ควรมีที่ให้ผู้เชี่ยวชาญทางไอทีได้พบปะกันด้วยเช่นกัน แต่ก็ไม่รู้ว่าวิธีไหนจะทำให้ทั้งหมดที่ว่ามานี่อยู่ตัวได้เร็วไปกว่าการมี coworking space” Buford เล่าให้ฟังถึงที่มาของ BootHK ที่เปิดตัวเมื่อปีที่แล้ว

เขาเล่าต่อว่า “คนที่มาใช้บริการส่วนใหญ่ที่ BootHK เป็นชาวต่างชาติหรือไม่ก็คนจีนที่เคยอยู่เมืองนอกมาก่อน อาจเป็นเพราะที่ตั้งและใช้ภาษาอังกฤษเป็นหลัก ผมว่าที่สาขาใหม่ที่ Lai Chi Kok น่าจะมีคนท้องถิ่นมาใช้บริการมากกว่า” BootHK กำลังจะเปิดอีกสาขาที่ Lai Chi Kok ซึ่งอยู่นอกเมืองและสงบกว่าที่ตั้งก่อนหน้าที่ Wan Chai ซึ่งเป็นย่านธุรกิจ

แต่ถึงสังคมส่วนใหญ่จะยังไม่เชื่อถือแนวคิดนี่เท่าไหร่นัก ก็ไม่ได้ทำให้หยุดให้คนเหล่านี้เลิกล้ม Yet แห่ง The Good Lab บอกไว้ว่า ก่อนหน้าปี 2012 ไม่เคยมี coworking space ในฮ่องกงมาก่อน แต่เพิ่งเกิดขึ้นในฐานะที่เป็นส่วนหนึ่งของวงการ start-up ซึ่งก็เพิ่งออกสตาร์ทเช่นกัน ถือเป็นอีกทางเลือกให้อีกหลายๆคน แทนที่จะทำตามแบบแผนของคนส่วนใหญ่ในสังคมอย่างเดียว

>>> หน้าต่อไป: ฮ่องกงยังมีอีก: Cocoon & The Hive


นอกจาก BootHK และ The Good Lab ฮ่องกงยังมีเพชรซ่อนอยู่อีก 2 ที่คือ CoCoon  และ The Hive อย่าง CoCoon มีพื้นที่กว้างถึง 14,000 ตารางฟุตและเป็นที่นิยมในหมู่เจ้าของกิจการแวดวงเทคโนโลยี ส่วน The Hive เพิ่งเปิดเมื่อเดือนพฤษภาฯ ปีที่แล้ว ตั้งอยู่ในเขต Wan Chai ซึ่งคนทำงานอิสระในวงการครีเอทีฟนิยมมาทำที่นี่

Buford ยังบอกอีกว่า “ในฮ่องกง coworking ได้รับผลกระทบจากวัฒนธรรมมากกว่าการเมืองซะอีก space หลายแห่งมีคอมมิวนิตี้ต่างๆกันไป ซึ่งทั้งหมดก็หวังผลทางธุรกิจเหมือนกัน แค่แต่ละ space จะมีความเชี่ยวชาญคนละด้าน ตอนนี้มีอาจจะมีพื้นที่ coworking space รวมๆ กันมากถึง 40,000 ตารางฟุตแล้วก็ได้”

Space เหล่านี้ช่วยสร้างคอมมิวนิตี้เพื่อคนที่อยากทำธุรกิจส่วนตัวขึ้นมาอย่างที่ start-up ต้องการ สำหรับใครที่ไม่อยากมีกิจการตัวคนเดียวในสังคมที่ยังไม่เปิดใจยอมรับงานแบบ นี้ซักเท่าไหร่

แต่แล้ว เศรษฐศาสตร์ก็มีส่วนสำคัญในการเปลี่ยนแปลงความคิดของคนฮ่องกง เพราะนอกจาก coworking space จะช่วยประหยัดค่าเช่าสำนักงานในเกาะเล็กๆที่มีคนอาศัยอยู่มากกว่า 7 ล้านคนแล้ว ยังเป็นทางออกที่คุ้มค่าสำหรับใครที่ต้องการเครื่องไม้เครื่องมือในการทำงาน แต่ไม่ต้องจ่ายแพงเหมือนการเช่าสำนักงานแบบดั้งเดิมหรือแบบใช้ร่วมกัน

“อุปสรรคที่ใหญ่ที่สุดสำหรับเจ้าของกิจการในฮ่องกงก็คือค่าเช่าสำนักงานราคาสูง เราเชื่อว่าค่าบริการที่ Good Lab 38-320 USD หรือประมาณ 1,115-6,750 บาทต่อคนต่อเดือน จะช่วยแก้ปัญหาเรื่องค่าเช่าแพงให้เจ้าของกิจการพวกนี้ได้” Yet บอกกับ Deskmag 

การเปลี่ยนความเชื่อที่ฝังหัวคนมานานอาจเป็นเรื่องยาก แต่พวกเขาก็จะสู้ต่อ ด้วยอุปกรณ์เครื่องใช้จำเป็นครบครันและความมุ่งมั่นที่จะเปลี่ยนความเชื่อ เก่าๆพวกนั้น รวมทั้งเป็นกำลังใจให้เจ้าของกิจการยังมีไฟทำงานต่อไป

ส่วน Buford เองก็เชื่อว่า coworking จะเติบโตไปได้อีก เพราะแค่เมื่อปีที่ผ่านมา ก็มี spaces เปิดเพิ่มถึง 5 แห่งในฮ่องกง ซึ่งก็หมายความว่าจะมีชาวฮ่องกงมาร่วมขบวนการ coworking มากขึ้นอีกเยอะ

“มันจะเป็นที่นิยมมากขึ้น ส่วนหนึ่งเพราะคนไม่อยากจ่ายค่าเช่าสำนักงานแพงๆ และอีกเหตุผลคือ coworking จะกลายเป็นหนทางสำคัญในการเริ่มทำธุรกิจของตัวเอง” Yet พูด

“ก็เหมือนที่ Matt Ridley พูดในงาน Ted Talk ว่าไอเดียต่างๆจะไหลลื่นได้อย่างอิสระใน coworking space และเมื่อหลายๆไอเดียมาผสมรวมกันก็จะมีสิ่งใหม่ๆที่เราคาดไม่ถึงเกิดขึ้น”

“ผมเชื่อว่า การได้เจอสิ่งที่เราต้องการโดยบังเอิญอย่างเกิดขึ้นใน coworking space นั้น ทำให้มันเป็นสถานที่ที่พิเศษกว่าที่อื่น” เขาสรุปอย่างนั้น

ssfCoworking Statistics

Startpage