Yardi Kube: A single connected platform for flexible workspace management
Yardi Kube

By Rebecca Griffiths - วันอาทิตย์, 02 ธันวาคม 2555

หลายปัจจัยได้กระตุ้นให้เกิดการเปลี่ยนแปลงจากความเชื่อต่อการทำงานในบริษัทแบบดั้งเดิมไปสู่การทำงานในสถานที่ที่ยืดหยุ่นและทำงานแบบร่วมกันมากขึ้น อย่างแรกคือการเติบโตกว้างขวางของเทคโนโลยีเคลื่อนที่ ที่ทำให้ผู้ทำงานสามารถทำงานจากที่ไกล ๆ เวลาไหนก็ได้

นอกจากนั้นสถานการณ์เศรษฐกิจตกต่ำเมื่อไม่นานมานี้ ก็ส่งผลให้เกิดการทำงานฝึกงานที่ไม่ได้ค่าตอบแทนมากขึ้นและมีงานเต็มเวลาน้อยลง เหล่ามืออาชีพที่ตกงานจึงมองหาโอกาสการทำงานผ่านทางเลือกใหม่ ๆ มากขึ้น

อีกหนึ่งแรงผลักที่สำคัญคือ ธุรกิจสมัยเก่าที่ไม่สามารถพัฒนาและผสมผสานค่านิยมของคนทำงานรุ่นใหม่ได้ ดังนั้นหากธุรกิจในปัจจุบันยังต้องการประสบความสำเร็จต่อไปนี่คือช่วงเวลาสำคัญที่บริษัทต่าง ๆ ต้องหันมาทบทวนและวางแผนกันใหม่

ขอแนะนำให้รู้จักกับ “เด็กรุ่นสหัสวรรษ หรือ Millennials” - Introducing the “Millennials”

คนในรุ่นอายุนี้มีมากถึง 375 คนทั่วโลก และเมื่อถึงปี 2025 จะมีสัดส่วนถึง 75% ของแรงงานทั้งหมด และเห็นได้ชัดว่าลักษณะที่ทำงานแบบเก่ากับความต้องการของ ‘Generation Y’ หรือเด็กรุ่น Millennials นั้นไม่มีทางบรรจบกันได้ ตามที่“The Next Talent Frontier” โดย Kelly Services ทำนายว่าเด็กรุ่นนี้จะเป็นกลุ่มที่ผลักดันให้เกิดการเปลี่ยนแปลงที่จริงจังต่อสถานที่ทำงาน ส่วนสำหรับเด็กรุ่นนี้เส้นกั้นระหว่างงานกับชีวิตนั้นถูกซับทับกันจากการมีเทคโนโลยีที่ดีขึ้นในมือถือ ทำให้สามารถทำงานได้เล็กน้อยได้

นอกเหนือจากการเป็นรุ่นแรก ๆ ที่ต้องการทำงานนอกเวลางานแล้ว พวกเค้ายังคาดหวังให้ที่ทำงานเป็นมากกว่าแค่ที่ทำงานด้วยเพิ่มเติมในเรื่องของการเข้าสังคมและการแบ่งปันประสบการณ์ ความรู้ต่างๆ

บทความชิ้นหนึ่งใน Forbes ก็เคยกล่าวไว้ว่า “พนักงานเจเนอเรชั่นใหม่นี้ ไม่ได้ต้องการแค่สถานที่ทำงานที่ทำงานร่วมกันได้แต่มันคือปัจจัยหลักที่พวกเขามองหาในสถานที่ทำงาน”

ยกเลิกอะไรที่ตายตัวทิ้งซะ - Throwing out rigid ways 

บริษัทหนึ่งที่เริ่มต้นเมื่อต้นยุค 2000 พิสูจน์แล้วว่าคุณสามารถดำเนินธุรกิจให้ประสบความสำเร็จสูงสุดด้วยวัฒนธรรมองค์กรที่แปลกใหม่ สร้างสรรค์และมีพนักงานเป็นศูนย์กลาง ในบริษัท Google มีทั้ง บริการนวดฟรีและโกคาร์ทในออฟฟิศ ที่นี่เชื่อว่าสถานที่ทำงานควรมีสิ่งอำนวยความสะดวกและช่วยเหลือพนักงานเพื่อที่พวกเขาจะมีความสุขในที่ทำงานและทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพขึ้นกว่าเดิม

ในปัจจุบันนี้ หลาย ๆ คนที่เพิ่งเริ่มต้นธุรกิจใหม่หรือ start-ups และบริษัทรุ่นใหม่ก็เดินตามแนวความคิดคล้าย ๆ กันนี้ ดังนั้นจึงไม่ใช่เรื่องแปลกถ้าเราจะเห็นประกาศงานที่ดึงดูดคนด้วยชั่วโมงการทำงานที่ยืดหยุ่นและมีชวนกันไปดื่มหลังเลิกงาน แต่สิ่งที่สำคัญมากกว่าไปกว่าผลประโยชน์เพิ่มเติมและเงินเดือนแล้ว ทั้งหมดทั้งมวลคือการให้ความสำคัญที่ตัวบุคคล เพราะเมื่อบริษัทที่ให้ความสำคัญกับพนักงานเป็นศูนย์กลางแล้วสิ่งตอบแทนที่จะได้จาก เหล่า ‘Gen Y’ คือการทำงานที่ดีขึ้นกว่าเดิมและสุดท้ายก็จะผันตัวเป็นทูตประชาสัมพันธ์ที่ดีให้กับแบรนด์นั้น ๆ นั่นเอง

หลังจากเปรียบเทียบรูปแบบและวัฒนธรรมการทำงานจากหลายแห่ง ๆ ก็พบว่ามีนโยบายมากมายที่ไม่เหมาะกับยุคสมัย โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อมีวิวัฒนาการของเหล่า ‘Gen Y’ เกิดขึ้น หัวข้อถัดไปจะเป็นนโยบายต่าง ๆ ที่ควรกำจัดให้สิ้นซากจากแผนกลยุทธ์ปี 2013 เพราะนโยบายเหล่านี้ไม่เหมาะสมกับคนทำงานรุ่นใหม่อีกต่อไปแล้ว

นโยบายจาก ‘บนลงล่าง’ - The ‘top-down’ approach

รูปแบบการทำงานแบบนี้ใช้ไม่ได้อีกต่อไป เพราะคนทำงานรุ่นใหม่ที่เข้ามาในตลาดแรงงานมีการศึกษามากขึ้นกว่าเดิมและทำให้พวกเขากล้าตั้งคำถามกับผู้บังคับบัญชา “คนรุ่นนี้เติบโตมากับการตั้งถามต่อพ่อแม่ของพวกเขา และตอนนี้พวกเขาตั้งคำถามต่อนายจ้าง” ศาสตราจารย์ Jordan Kaplan ได้กล่าวในบทความจากหนังสือพิมพ์รายวัน USA Today ว่าพวกเขายัง “มีแนวโน้มที่จะไม่ตอบสนองกับวิธีการบริหารแบบใช้อำนาจและการควบคุม”

คนทำงานรุ่นนี้ต้องการรู้สึกว่าพวกเขามีส่วนร่วมและกำหนดทิศทางของบริษัท ผู้จัดการที่สร้างสภาพแวดล้อมการทำงานที่ให้พนักงานมีส่วนร่วม กระตุ้นให้เกิดความคิดริเริ่ม ร่วมทำงานกับเพื่อนร่วมงานและสร้างสรรค์สิ่งใหม่จะประสบความสำเร็จมากกว่า


ผู้จัดการหลายท่านอาจคิดหนักเมื่อต้องให้อำนาจการบริหารเวลาทำงานอยู่ในมือของพนักงานเอง แต่หากมองในทางกลับกันนี่สามารถเป็นแรงขับเคลื่อนให้พนักงานทำงานประสบความสำเร็จ กลับกันหากเป็นบริษัทที่สั่งให้พนักงานมาถึงเมื่อไหร่ ต้องทำงานกี่ชั่วโมงและจับเวลาการทำงานทุกชั่วโมงจะถูกต่อต้านจากพนักงานรุ่นใหม่เป็นอย่างมาก

เวลาทำงาน 9 โมงเช้าเลิก 5 โมงเย็นไม่มีอีกแล้ว - The traditional 9 to 5 is dead

 ในโลกของการทำงานที่มีความยืดหยุ่นมากขึ้น บริษัทควรหันมาสนใจประโยชน์ หรือ the benefits จากเวลาการทำงานที่ยืดหยุ่นมากขึ้น อย่างที่ได้กล่าวไปแล้วข้างต้นว่า Gen Y ไม่สนใจว่าต้องใช้เวลาเท่าไหร่ในการทำงานให้สำเร็จ พวกเขาแค่ต้องการเลือกช่วงเวลาการทำงานเอง ปัจจุบันวิธีที่จะวัดได้ดีที่สุดคือความสามารถในการผลิตโดยดูจากเป้าหมายที่ทำสำเร็จ มากกว่าจำนวนชั่วโมงที่ใช้ทำงาน ถ้าคุณอยากเห็นข้อพิสูจน์ว่าวิธีการนี้ใช้ได้ผลจริง ลองดูวิธีที่ Best Buy ได้นำ ‘สภาพแวดล้อมการทำงานที่ให้ความสำคัญที่ผลงาน’ หรือ ‘Results-Only-Work-Environment’ มาใช้เพื่อมอบอำนาจนี้ให้พนักงานและเพิ่มความสามารถในการผลิต

รอบการวัดผลงาน - Performance review cycles

แม้ว่ามันจะเป็นช่วงเวลาที่นายจ้างและพนักงานได้ทำการทบทวนเป้าหมายที่ตั้งไว้และเป้าหมายที่ทำสำเร็จ แต่อีกไม่นาน การทำเช่นนี้คงไม่เพียงพออีกต่อไป บริษัทที่ไม่ปรับตามให้ทันนั้นจะถูกทิ้งให้งงว่าทำไมเหล่าเด็ก ‘Gen Y’ จึงมาและก็ออกไปไวนัก

คนรุ่นนี้ทำงานรวดเร็วขึ้นกว่ามากและต้องการให้นายจ้างมีเสียงตอบรับกับผลงานของพวกเขาซึ่งช่วยให้พวกเขาพัฒนาความสามารถ แทนที่จะนั่งรอรายงานวัดผลงาน บริษัทควรจัดการประชุมย่อยเสมอ ๆ เพื่อให้คำตอบรับ แนะนำ หรือติชมในทางสร้างสรรค์ ไม่ว่าในรูปแบบใดก็ตาม เหล่า ‘Gen Y’ มักจะคาดหวังว่าจะได้มีผลตอบรับจากนายจ้างทันทีและที่สำคัญที่สุดคือการชื่นชมความสำเร็จของพวกเขาอย่างจริงใจ

การทำงานร่วมกันใน Coworking Spaceอาจเป็นคำตอบ - Coworking spaces may provide the answer

หลังจากเข้าใจลักษณะเฉพาะตัวของแรงงานรุ่น ‘Gen Y’ แล้ว คงไม่แปลกใจว่าการทำงานร่วมกันหรือ Coworking นั้นได้กลายเป็นปรากฏการณ์ระดับโลก แต่ Coworking นี้ไม่ได้จำกัดเฉพาะในกลุ่มคนทำงานอิสระหรือเจ้าของกิจการเท่านั้น ในส่วนของบริษัทก็สามารถมอง Coworking ให้เกิดประโยชน์ [leverage the benefits] ลงไปได้อย่างการเพิ่มความยืดหยุ่นในการทำงาน การเพิ่มโอกาสพบปะทางสังคม การมีสภาพแวดล้อมการทำงานร่วมกัน แต่กลับลดต้นทุนค่าเช่าพื้นที่ออฟฟิศ การที่นายจ้างจะอนุญาตให้ตารางเวลาทำงานของพนักงานยืดหยุ่นและเปลี่ยนแปลงได้นั้นปัจจัยสำคัญที่สุดคือความเชื่อใจซึ่งคุณจะแปลกใจกับผลกระทบด้านบวกที่จะเกิดขึ้น!

ssfCoworking Statistics

Startpage